วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 23 กันยายน 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

ความรู้ที่ได้รับ ( Knowledge )

   วันนี้เริ่มต้นการเรียนการสอนด้วยการทำลูกยางกระดาษ โดยอาจารย์เตรียมอุปกรณ์ให้ แล้วสอนวิธีการทำ ถ้านำกิจกรรมนี้ไปใช้กับเด็ก ให้เด็กได้สร้างชิ้นงานด้วยตนเอง ตามทฤษฎี Constructivism คือ การให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง แล้วจากนั้นก็จะเป็นการนำเสนอบทความของเพื่อนๆ

ผู้นำเสนอ คนที่ 1  นางสาวนภาวรรณ กุดขุนเทียน

เรื่อง สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จากเป็ดและไก่
ผู้เขียน อาจารย์ลำพรรณี มืดขุนทด
   จะเป็นการนำเสนอเกียวกับการเรียนรู้ผ่านนิทาน เรื่อง หนูไก่คนเก่ง โดยมีขั้นตอนดังนี้
- นำเด็กร้องเพลงไก่ และทำท่าทางตามอิสระ
- สนทนาและตั้งคำถามกับเด็ก " ไก่กับเป็ดเหมือนหรือต่างกันอย่างไร "
- จากนั้นให้เด็กวาดภาพตามจินตนาการ และครูก็บันทึกคำตอบของเด็กๆลงภาพนั้น



ผู้นำเสนอ คนที่ 2  นางสาวสุธาสินี ธรรมานนท์

เรื่อง  5แนวทางให้เด็กทดลองวิทยาศาสตร์
ผู้เขียน ดร.เพกัญญา พรหมขัติแก้ว
   ก็จะเป็นการบอกเกี่ยวกับขั้นตอนในการทำกิจกรรม ดังนี้
1.ตั้งคำถามให้เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง
2.ออกไปหาคำตอบด้วยกัน
3.เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาคำตอบที่ได้พบมาตอบคำถาม
4.นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจ ตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อนๆได้ฟัง
5.นำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้น ไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์


ผู้นำเสนอ คนที่ 3  นางสาวนฤมล อิสระ

เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้เขียน อาจารย์ วัลลภา ขุมหิรัญ
   ก็จะบอกถึงการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ มีดังนี้
- สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
- สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
- ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ 
- ส่งเสริมกระบวนการคิด
- ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
- ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
- เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ


ผู้นำเสนอ คนที่ 4  นางสาวยุพดี สนประเสริฐ

เรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร
ผู้เขียน สสวท.
   ให้เด็กๆได้ทำกิจกรรม เรียนรู้ผ่านการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้ การคิดและลงมือแก้ไขปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย และเป็นไปตามกลับการจัดการศึกษาปฐมวัย


จากนั้นอาจารย์ก็ได้สอนจาก Power Point เรื่อง ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ โดยมีหัวข้อดังนี้
- ความหมายทักษะการจำแนก
- ความหมายทักษะการวัด
-ความหมายทักษะการสื่อสาร
- ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
- ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
- ความหมายทักษะการคำนวน


สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

   ได้รับความรู้จากบทความเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้น สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนของเราเอง หรือการจัดการสอน การจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย

การประเมินผล ( Evaluation )

ตนเอง      :  แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีความตั้งใจในการเรียน มีการจดบันทึก
เพื่อน        :  แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม ตั้งใจเรียน  มีการจดบันทึกความรู้ ตั้งใจเพื่อนนำเสนอบทความ
อาจารย์    :   อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสมต่อสถานะการเป็นผู้สอน มีความพร้อมในการสอน มีการอธิบาย ยกตัวอย่างประกอบการสอน ใช้สื่อในการสอน ให้การเรียนนั้นเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น





The Secret of Light

ความลับของแสง

   โดยสรุปความรู้เป็น Mind Map ได้ดังนี้








วันอังคารที่ 16 กันยายน 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5


ความรู้ที่ได้รับ ( Knowledge )

   สำหรับสัปดาห์นี้ก็เริ่มต้นด้วยการเปิดเพลงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้ฟัง แล้วช่วยกันคิดวิเคราะห์เนื้อหาแล้วความรู้ที่ได้จากการฟังเพลงนี้ จากนั้นก็ให้แต่ละบอกชื่อเพลงของเด็กปฐมวัยคลละ 1 เพลง ห้ามซ้ำกัน เพื่อเป็นการทดสอบความภูมิความรู้เดิม ว่าจะมีมากน้อยเพียงใด หรือจะจำกันได้หรือไม่ จากนั้นก็จะเป็นการนำเสนอบทความวิทยาศาสตร์ โดยสรุปบทความที่ไได้ฟังจากเพื่อนที่นำเสนอ ได้ดังนี้

ผู้นำเสนอ คนที่ 1 นางสาววีนัส  ยอดแก้ว  ( Wenat Yotkaew )

เรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่ ?
ผู้เขียน อาจารย์ชุติมา เตมียสถิตย์
   หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปแบบของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วยทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอน เพียงแต่ครูควรตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้เด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็ก และครูควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรให้ตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ

ผู้นำเสนอ คนที่ 2 นางสาวเจนจิรา  บุตรช่วง ( Janjira Butchuang )

เรื่อง สอนลูกเรื่องพืช
ผู้เขียน อาจารย์นิติธร ปิลวาสน์
   การสอนให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับพืชชนิดต่างๆนั้น พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในหารส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมง่ายๆให้เด็กได้เรียนรู้จากกิจกรรมประจำวัน เช่น
1.การให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการประกอบอาหารประเภทผัก
2.การหัดให้เด็กเพาะปลูกพืชง่ายๆที่บ้าน หรืออาจจะปลูปผักสวนครัว
3.ให้เด็กไปช่วยเลือกซื้อพันธ์พืช ไม้ดอกไม้ประดับ จากแหล่งจำหน่ายพันธ์ไม้
4.พ่อแม่ควรพาลูกไปเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวที่มีพันธ์พืชหรือต้นไม้ เช่น สวนดอกไม้ น้ำตก

   หลังจากที่เพื่อนได้นำเสนอบทความเสร็จแล้ว ก็จะเป็นการทำกิจกรรม โดยที่อาจารย์ได้แจกกระดาษ ไม้เสียบลูกชิ้น เทปกาว สี 

ขั้นตอนการทำ 
   ให้กระดาษ A4 มา 1 แผ่น พับเป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน แล้วตัดแบ่งกับ จะเป็นกระดาษ 4 เหลี่ยมเล็กๆ พอดี จากนั้นก็พับครึ้งก็จะมีสองด้าน ด้านแรกวาดรูปจานลงไป ด้านที่สองวาดรูปผลไม้ลงไป จากนั้นติดไม้เสียบลูกชิ้นไว้ตรงกลางกระดาษแล้วติดเทปการให้หนาแน่นเรียบร้อย แล้วเราก็จะมาทดลองกัน คือ ให้หมุนไม้นั้นเร็วๆไปมา ผลที่ได้ คือ เราจะมองเห็นเหมือนว่าผลไม้ที่เราวาดนั้นอยู่ในจาน






สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

   ได้รับความรู้จากบทความเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้น รู้เกี่ยวกับความสำคัณของวิชาวิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย และรู้ว่าจะกิจกรรมอย่างไรให้เด็กปฐมวัยได้ใกล้ชิดวิทยาศาสตร์มากขึ้นโดยที่ไม่ยากเกินไปสำหรับเด็ก

การประเมินผล ( Evaluation )

ตนเอง      :  แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีความตั้งใจในการเรียน มีการจดบันทึก
เพื่อน        :  แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม ตั้งใจเรียน  มีการจดบันทึกความรู้ ตั้งใจเพื่อนนำเสนอบทความ
อาจารย์    :   อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสมต่อสถานะการเป็นผู้สอน มีความพร้อมในการสอน มีการอธิบายและเสริมความรู้ให้เข้าใจง่ายมากขึ้น









วันอังคารที่ 9 กันยายน 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4

ความรู้ที่ได้รับ ( Knowledge )

   สำหรับการเรียนในสัปดาห์นี้ก็ได้เรียนเกี่ยวกับเรื่อง รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย โดยสรุปความรู้เป็น Mind Map ได้ดังนี้







สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

   นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการจัดดารเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัยไได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ให้กิจกรรมที่จะจัดนั้นสอดคล้องกับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ของเด็ก อย่างครบถ้วน

การประเมินผล ( Evaluation )

ตนเอง      :  แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีความตั้งใจในการเรียน
เพื่อน        :  แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม ตั้งใจเรียน  มีการจดบันทึกความรู้
อาจารย์    :   อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสมต่อสถานะการเป็นผู้สอน มีเทคนิกการสอนที่หลากหลาย สอนแบบมีคำถามเพื่อให้นักศึกษาได้ความรู้จากการตอบคำถาม





วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ

      ทักษะการสังเกตเป็นหนึ่งในทักษะขั้นพื้นฐานและจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์  
การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ เพื่อต้องการรู้รายละเอียดของสิ่งนั้นๆ ที่จะนำมาซึ่งการเรียนรู้ที่มากขึ้นและเด็กจะเก็บเป็นข้อมูลหรือประสบการณ์ต่อไป จึงพูดได้อีกอย่างว่าสำหรับสำหรับเด็กๆแล้วการสังเกตจะเกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้านั่นเอง และจากประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กพัฒนาขึ้น การสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่มีคุณค่าในที่สุด


ส่งเสริมทักษะการสังเกตผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า

ฝึกสังเกตด้วย ตา   
   ในการสังเกตโดยใช้ “ตา” นั้น  คุณพ่อคุณแม่ควรแนะให้ลูกรู้จักสังเกตลักษณะของสิ่งต่างๆ สังเกตความเหมือน ความต่าง รู้จักจำแนก และจัดประเภท จะช่วยให้เด็กมี นิสัยในการมองสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างละเอียดรอบคอบ โดยเริ่มจากการชี้ให้เด็กดูสิ่งที่เขาเห็นอยู่ทุกวัน เช่น ต้นไม้บริเวณบ้าน  ลองเก็บใบไม้ต่าง ๆ ที่หล่นอยู่บนพื้นมาให้ลูกดู ให้เขาสังเกตสีของใบไม้ต่าง ๆ  ที่มีทั้งสีเขียว  สีเหลือง สีแดง สีน้ำตาล ฯลฯ  รวมทั้งมีรูปร่างลักษณะที่ทั้งคล้ายกันและต่าง กัน 

ฝึกสังเกตด้วย หู  
   เด็กเล็กๆ ที่มีความสามารถในการจำแนกเสียงต่างๆที่ได้ยินนั้น จะมีพื้นฐานที่ดีในการเรียนรู้ภาษาทั้งยังช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งที่อยู่รอบตัวเขาด้วย เราอาจใช้วิธีอัดเสียงที่เด็กคุ้นหู เช่น เสียงสัตว์ต่าง ๆ เสียงนก เสียงแมลง จิ้งหรีด ฯลฯ แล้วเปิดให้เด็กทายว่าเป็นเสียงอะไร ให้เด็กหัดสังเกตความแตกต่างของเสียงเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเชื่อมโยงไปสู่การสอนเขาเกี่ยวกับลักษณะของแหล่งเสียงต่างๆนั้นได้ 

 ฝึกสังเกตด้วย จมูก  
   การใช้จมูกดมกลิ่นเพื่อฝึกการสังเกตนั้น ควรให้ลูกได้ดมสิ่งที่มีกลิ่นเหมือนและต่างกัน เพื่อให้เขารู้จักจำแนกได้ละเอียดขึ้น การฝึกลูกในขั้นแรก คือปิดตาลูกแล้วให้ดมกลิ่นสิ่งต่างๆ แล้วบอกว่าเป็นกลิ่นอะไร กลิ่นที่นำมาให้ลูกดมควรเป็นสิ่งที่เขาคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน เช่น แป้ง สบู่ ผลไม้ ส้ม ดอกไม้  หัวหอม ฯลฯ  หลังจากที่ลูกสามารถจำแนกกลิ่นต่าง ๆ ได้แล้ว ควรให้ดมกลิ่นสิ่งที่มีกลิ่นคล้ายกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง 

 ฝึกสังเกตด้วย ลิ้น  
    การใช้ลิ้นชิมรสอาหารต่าง ๆ เป็นกิจกรรมที่เด็กสนุกสนานเพราะสอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กที่ชอบชิม แทะสิ่งต่างๆอยู่แล้ว การให้เด็กได้ชิมรสต่างๆนี้ก็เพื่อให้รู้จักความแตกต่างของรสชาติ และรู้จักลักษณะของสิ่งที่นำมาใช้เป็นอาหารดียิ่งขึ้น ในการจัดกิจกรรมนั้นคุณพ่อคุณแม่นำอาหารชิ้นเล็กๆหลาๆอย่างใส่ถาดให้ลูกปิดตาแล้วพ่อแม่ใส่ปากให้ชิมและตอบว่ากำลังชิมอะไร รสเป็นอย่างไร เช่น น้ำตาล-หวาน  เกลือ-เค็ม  วุ้น-หวาน   มะนาว-เปรี้ยว  มะระ-ขม เป็นต้น  หลังจากนั้นให้เปรียบเทียบอาหารที่มีรสคล้ายกันว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร 

 ฝึกสังเกตด้วย ผิวหนัง   
   การเรียนรู้ด้วยการใช้มือสัมผัส แตะ หรือเอาสิ่งของต่างๆมาสัมผัสผิวหนัง ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัตถุต่างๆและเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่อาจนำวัตถุต่างๆใส่ถุงให้ลูกปิดตาจับของในถุงนั้น แล้วให้บอกว่าสิ่งที่จับมีลักษณะอย่างไร เช่น นุ่ม แข็ง หยาบ เรียบ ขรุขระ เย็น อุ่น บาง หนา ฯลฯ โดยสิ่งของที่นำมาใส่ในถุงควรมีพื้นผิวแตกต่างกัน เช่น ผ้าเนื้อต่างๆ กระดาษหยาบ ฟองน้ำ ไม้ขนนก เหรียญ ฯลฯ 

   การได้ฝึกสังเกตด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้านี้ จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดเป็นข้อมูลขึ้นในสมองของลูก เพื่อการเรียกมาใช้ในวันหนึ่งข้างหน้านั่นเอง








วันอังคารที่ 2 กันยายน 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge )

   สำหรับวันนี้งดการเรียนการสอนในห้องเรียน แต่อาจารย์ก็ให้ไปร่วมกิจกรรมที่ทางคณะศึกษาศาสตร์ได้จัดขึ้น คือ โครงการ ศึกษาศาสตร์วิชาการ " Tinking Faculty " ซึ่งกิจกรรมนี้ได้จัดขึ้นที่ สนามกีฬาในร่ม โดยในงานได้มีกิจกรรมและเกมการศึกษาต่างๆให้เล่นมากมาย กิจกรรมนี้ทำให้ได้รับความสนุกสนาน ได้รับรู้แนวคิดต่างๆ อีกทั้งยังได้ความรู้อีกด้วย




ใบบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรม










วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 26 สิงหาคม 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2


ความรู้ที่ได้รับ ( Knowledge )






สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

   จากความรู้ที่ได้รับในวันนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบกิจกรรมการสอนของเด็กได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และยังสามารถนำไปบูรณาการในรายวิชาอื่นๆได้   

ผลการประเมิน ( Evaluation )

ตนเอง     :   แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม ตั้งใจเรียน มีการจดบันทึกความรู้ ไม่ส่งเสียงรบกวนผู้อื่น
เพื่อน       :   แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและมีการจดบันทึก
อาจารย์   :    อาจารย์ให้ใช้การตอบคำถามเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดและเกิดเป็นความรู้ความเข้าใจที่แท้จริง






วันอังคารที่ 19 สิงหาคม 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่1


ความรู้ที่ได้รับ ( Knowledge )


    วันนี้เป็นการเรียนการสอนในครั้งแรกของภาคเรียนที่ 1/2557 ในชื่อของรายวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก็จะเป็นการพบปะ พูดคุย ทักทายกัน ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา ในครั้งแรกก็ยังไม่ได้เข้าสู่เนื้อหา แต่อาจารย์แจกแนวการเรียนการสอนให้ (Course Syllabus) และได้อธิบายเกี่ยวกับสิ่งต่างๆในรายวิชานี้ ว่าเราจะได้เรียนและทำอะไรบ้าง





สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

   นำแนวทางการเรียนการสอนที่อาจารย์ให้ไปปรับใช้ในการเรียน เพื่อให้เราได้ความรู้ตรงตามเป้าหมาย ตรงตามจุดประสงค์ของรายวิชานี้ และยังได้รับความรู้เกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษอีกด้วย ว่าเด็กพิเศษนั้นเป็นอย่างไร และจะต้องดูแล จัดการศึกษาให้อย่าไร จึงจะเหมาะสม


ผลการประเมิน (Evaluation )

ตนเอง     :   แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม ตั้งใจเรียน
เพื่อน       :   แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและมีการจดบันทึก
อาจารย์   :    อาจารย์ให้คำแนะนำที่เหมาะสม และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่การเรียนในครั้งต่อๆไป