วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 16 กันยายน 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5


ความรู้ที่ได้รับ ( Knowledge )

   สำหรับสัปดาห์นี้ก็เริ่มต้นด้วยการเปิดเพลงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้ฟัง แล้วช่วยกันคิดวิเคราะห์เนื้อหาแล้วความรู้ที่ได้จากการฟังเพลงนี้ จากนั้นก็ให้แต่ละบอกชื่อเพลงของเด็กปฐมวัยคลละ 1 เพลง ห้ามซ้ำกัน เพื่อเป็นการทดสอบความภูมิความรู้เดิม ว่าจะมีมากน้อยเพียงใด หรือจะจำกันได้หรือไม่ จากนั้นก็จะเป็นการนำเสนอบทความวิทยาศาสตร์ โดยสรุปบทความที่ไได้ฟังจากเพื่อนที่นำเสนอ ได้ดังนี้

ผู้นำเสนอ คนที่ 1 นางสาววีนัส  ยอดแก้ว  ( Wenat Yotkaew )

เรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่ ?
ผู้เขียน อาจารย์ชุติมา เตมียสถิตย์
   หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปแบบของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วยทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอน เพียงแต่ครูควรตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้เด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็ก และครูควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรให้ตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ

ผู้นำเสนอ คนที่ 2 นางสาวเจนจิรา  บุตรช่วง ( Janjira Butchuang )

เรื่อง สอนลูกเรื่องพืช
ผู้เขียน อาจารย์นิติธร ปิลวาสน์
   การสอนให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับพืชชนิดต่างๆนั้น พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในหารส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมง่ายๆให้เด็กได้เรียนรู้จากกิจกรรมประจำวัน เช่น
1.การให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการประกอบอาหารประเภทผัก
2.การหัดให้เด็กเพาะปลูกพืชง่ายๆที่บ้าน หรืออาจจะปลูปผักสวนครัว
3.ให้เด็กไปช่วยเลือกซื้อพันธ์พืช ไม้ดอกไม้ประดับ จากแหล่งจำหน่ายพันธ์ไม้
4.พ่อแม่ควรพาลูกไปเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวที่มีพันธ์พืชหรือต้นไม้ เช่น สวนดอกไม้ น้ำตก

   หลังจากที่เพื่อนได้นำเสนอบทความเสร็จแล้ว ก็จะเป็นการทำกิจกรรม โดยที่อาจารย์ได้แจกกระดาษ ไม้เสียบลูกชิ้น เทปกาว สี 

ขั้นตอนการทำ 
   ให้กระดาษ A4 มา 1 แผ่น พับเป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน แล้วตัดแบ่งกับ จะเป็นกระดาษ 4 เหลี่ยมเล็กๆ พอดี จากนั้นก็พับครึ้งก็จะมีสองด้าน ด้านแรกวาดรูปจานลงไป ด้านที่สองวาดรูปผลไม้ลงไป จากนั้นติดไม้เสียบลูกชิ้นไว้ตรงกลางกระดาษแล้วติดเทปการให้หนาแน่นเรียบร้อย แล้วเราก็จะมาทดลองกัน คือ ให้หมุนไม้นั้นเร็วๆไปมา ผลที่ได้ คือ เราจะมองเห็นเหมือนว่าผลไม้ที่เราวาดนั้นอยู่ในจาน






สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

   ได้รับความรู้จากบทความเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้น รู้เกี่ยวกับความสำคัณของวิชาวิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย และรู้ว่าจะกิจกรรมอย่างไรให้เด็กปฐมวัยได้ใกล้ชิดวิทยาศาสตร์มากขึ้นโดยที่ไม่ยากเกินไปสำหรับเด็ก

การประเมินผล ( Evaluation )

ตนเอง      :  แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีความตั้งใจในการเรียน มีการจดบันทึก
เพื่อน        :  แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม ตั้งใจเรียน  มีการจดบันทึกความรู้ ตั้งใจเพื่อนนำเสนอบทความ
อาจารย์    :   อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสมต่อสถานะการเป็นผู้สอน มีความพร้อมในการสอน มีการอธิบายและเสริมความรู้ให้เข้าใจง่ายมากขึ้น









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น