สรุปบทความ
ทักษะการสังเกตเป็นหนึ่งในทักษะขั้นพื้นฐานและจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์
การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ เพื่อต้องการรู้รายละเอียดของสิ่งนั้นๆ ที่จะนำมาซึ่งการเรียนรู้ที่มากขึ้นและเด็กจะเก็บเป็นข้อมูลหรือประสบการณ์ต่อไป จึงพูดได้อีกอย่างว่าสำหรับสำหรับเด็กๆแล้วการสังเกตจะเกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้านั่นเอง และจากประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กพัฒนาขึ้น การสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่มีคุณค่าในที่สุด
ส่งเสริมทักษะการสังเกตผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า
ฝึกสังเกตด้วย ตา
ในการสังเกตโดยใช้ “ตา” นั้น คุณพ่อคุณแม่ควรแนะให้ลูกรู้จักสังเกตลักษณะของสิ่งต่างๆ สังเกตความเหมือน ความต่าง รู้จักจำแนก และจัดประเภท จะช่วยให้เด็กมี นิสัยในการมองสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างละเอียดรอบคอบ โดยเริ่มจากการชี้ให้เด็กดูสิ่งที่เขาเห็นอยู่ทุกวัน เช่น ต้นไม้บริเวณบ้าน ลองเก็บใบไม้ต่าง ๆ ที่หล่นอยู่บนพื้นมาให้ลูกดู ให้เขาสังเกตสีของใบไม้ต่าง ๆ ที่มีทั้งสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีน้ำตาล ฯลฯ รวมทั้งมีรูปร่างลักษณะที่ทั้งคล้ายกันและต่าง กัน
ฝึกสังเกตด้วย หู
เด็กเล็กๆ ที่มีความสามารถในการจำแนกเสียงต่างๆที่ได้ยินนั้น จะมีพื้นฐานที่ดีในการเรียนรู้ภาษาทั้งยังช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งที่อยู่รอบตัวเขาด้วย เราอาจใช้วิธีอัดเสียงที่เด็กคุ้นหู เช่น เสียงสัตว์ต่าง ๆ เสียงนก เสียงแมลง จิ้งหรีด ฯลฯ แล้วเปิดให้เด็กทายว่าเป็นเสียงอะไร ให้เด็กหัดสังเกตความแตกต่างของเสียงเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเชื่อมโยงไปสู่การสอนเขาเกี่ยวกับลักษณะของแหล่งเสียงต่างๆนั้นได้
ฝึกสังเกตด้วย จมูก
การใช้จมูกดมกลิ่นเพื่อฝึกการสังเกตนั้น ควรให้ลูกได้ดมสิ่งที่มีกลิ่นเหมือนและต่างกัน เพื่อให้เขารู้จักจำแนกได้ละเอียดขึ้น การฝึกลูกในขั้นแรก คือปิดตาลูกแล้วให้ดมกลิ่นสิ่งต่างๆ แล้วบอกว่าเป็นกลิ่นอะไร กลิ่นที่นำมาให้ลูกดมควรเป็นสิ่งที่เขาคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน เช่น แป้ง สบู่ ผลไม้ ส้ม ดอกไม้ หัวหอม ฯลฯ หลังจากที่ลูกสามารถจำแนกกลิ่นต่าง ๆ ได้แล้ว ควรให้ดมกลิ่นสิ่งที่มีกลิ่นคล้ายกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง
ฝึกสังเกตด้วย ลิ้น
การใช้ลิ้นชิมรสอาหารต่าง ๆ เป็นกิจกรรมที่เด็กสนุกสนานเพราะสอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กที่ชอบชิม แทะสิ่งต่างๆอยู่แล้ว การให้เด็กได้ชิมรสต่างๆนี้ก็เพื่อให้รู้จักความแตกต่างของรสชาติ และรู้จักลักษณะของสิ่งที่นำมาใช้เป็นอาหารดียิ่งขึ้น ในการจัดกิจกรรมนั้นคุณพ่อคุณแม่นำอาหารชิ้นเล็กๆหลาๆอย่างใส่ถาดให้ลูกปิดตาแล้วพ่อแม่ใส่ปากให้ชิมและตอบว่ากำลังชิมอะไร รสเป็นอย่างไร เช่น น้ำตาล-หวาน เกลือ-เค็ม วุ้น-หวาน มะนาว-เปรี้ยว มะระ-ขม เป็นต้น หลังจากนั้นให้เปรียบเทียบอาหารที่มีรสคล้ายกันว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
ฝึกสังเกตด้วย ผิวหนัง
การเรียนรู้ด้วยการใช้มือสัมผัส แตะ หรือเอาสิ่งของต่างๆมาสัมผัสผิวหนัง ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัตถุต่างๆและเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่อาจนำวัตถุต่างๆใส่ถุงให้ลูกปิดตาจับของในถุงนั้น แล้วให้บอกว่าสิ่งที่จับมีลักษณะอย่างไร เช่น นุ่ม แข็ง หยาบ เรียบ ขรุขระ เย็น อุ่น บาง หนา ฯลฯ โดยสิ่งของที่นำมาใส่ในถุงควรมีพื้นผิวแตกต่างกัน เช่น ผ้าเนื้อต่างๆ กระดาษหยาบ ฟองน้ำ ไม้ขนนก เหรียญ ฯลฯ
บทความซำ้กับเพื่อนหรือไม่
ตอบลบเอามาจากไหนไม่มีกล่าวถึง
ลองปรับโดยวางเมาส์ที่ชื่อเรื่องและคลิกขวา
จะLinkไปที่บทความฉบับจริงนะคะ
อาจสรุปเป็นประเด็น
บทความกล่าวถึงใครและเขาได้ทำอะไร อย่างไร
พร้อมยกตัวอย่างนะคะ
และ การจัดวางที่ดีทำให้น่าสนใจและอ่านง่ายขึ้นคะ
บทความหนูไม่ซ้ำนะคะ นอกจากเพื่อนจะมาเอาซ้ำ และข้อแนะนำที่บอกมาหนูจะนำมาแก้ไขคะ ขอบคุณคะอาจารย์ ส่วนบทความเต็มหมูใส่แล้วนะคะ ด้วนขวาที่หัวข้อ ARTICLE (บทความ)
ลบ