วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ความลับของอากาศ


สรุป ความลับของอากาศ





   ลม คือ อากาศที่เคลื่อนที่ได้ อากาศนั้นจะอยู่รอบๆตัวเรา อากาศอยู่ได้ในทุกที่ มนุษย์ สัตว์ หรือพืช ต่างก็ใช้อากาศในการหายใจ ถึงเราจะมองอากาศไม่เห็นแต่อากาศก็มีตัวตน  อากาศไม่รูปร่างที่ตายตัวแต่จะแทรกตัวอยู่ อากาศต้องการที่อยู่ ถ้ามีอะไรมาแทนที่อากาศ อากาศก็จะเคลื่อนตัวออกไปทันที อากาศจะมีน้ำหนักแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความร้อนและความเย็นอากาศบริเวณนั้น

   อากาศร้อนจะมีน้ำหนักที่เบาลงทำให้วัตถุลอยขึ้น อากาศที่เราเป่าออกจากปากก็ร้อนเช่นกัน อากาศจะคอยปรับความสมดุลอยู่ตลอดเวลา ลมก็คืออากาศเย็นที่พัดผ่านเข้ามา พื้นโลกจะมีความร้อนไม่เท่ากัน ลมสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปตามวัตถุที่ขวางทางอยู่ได้

   อากาศมีคุณสมบัติที่สำคัญมากมายที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ เช่น แรงดันอากาศ " แรงดันอากาศ " คือ แรงที่อากาศกดลงพื้นผิวไปยังวัตถุต่างๆ แรงดันอากาศสามารถยกของหนักๆได้ อากาศร้อนมีแรงดันอากาศน้อยกว่าอากาศเย็น อากาศที่เคลื่อนที่ก็จะมีแรงดันน้อยกว่าอากาศที่อยู่นิ่งๆ


   


                                                   

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บทโทรทัศน์ครู Thai Teacher TV.


สรุปบทโทรทัศน์ครู Thai Teacher TV    เรื่อง สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย

  เป็นการนำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์ของ คุณครูกรรณิการ์ เฉิน  เพื่อเป็นเทคนิกในการพัฒนาการของเด็กปฐมวัย โดยการใช้วัสดุรอบตัว โดยใช้น้ำตาลก้อนหยดสีลงไปแล้วดูการเปลี่ยนแปลง การใช้กระดาษทิชชู่อธิบายความลับของสีดำ ซึ่งมีสีอื่นๆซ่อนอยู่มากมาย หรืออธิบายเรื่องแรงตึงของผิวน้ำ โดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆ ที่อยู่รอบตัวในการอธิบายให้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่าย

ยกตัวอย่างกิจกรรม กระดาษทิชชู่อธิบายความลับของสีดำ

   ขั้นเริ่มต้น ครูจจะให้เด็กๆออกมาระบายสีที่หน้าชั้นเรียน โดยใช้สีที่แตกต่างกันไป แต่ไม่มีใครใช้สีดำระบาย จากนั้นเวลาล้างพู่กันให้จุ่มพู่กันล้างลงในแก้วเดียวกัน ซึ่งน้ำที่ล้างกลายเป็นสีดำ แล้วเชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรม

- ครูถามเด็กๆว่ามีใครใช้สีดำระบายรูปภาพบ้างไหม เด็กๆก็ต่างตอบว่าไม่มีครับ/คะ
- ครูได้แจกกระดาษให้กับเด็กๆ เจาะรูตรงกลางกระดาษ วาดภาพบริเวณที่เจาะรู ด้วยปากกาหมึกสีดำ จากนั้น แล้วก็นำกระดาษทิชชูมาพันเป็นกรวย เสียใส่รูของกรระดาษ
- แล้วก็นำกรวยจุ่มลงแก้วน้ำ ปรากฏว่า น้ำค่อยๆซึมผ่านกระดาษไปสู่สี สีดำเริ่มกระจายตามพื้นผิวกระดาษทิชชู จากสีดำก็ค่อยๆจางไป กลายเป็นสีอื่นๆ
-เด็กก็จะได้รู้ถึงความลับของสีดำว่าสามารถเปลี่ยนแปลงกลายเป็นสีอื่นๆได้ด้วย



แหล่งอ้างอิง : http://iptv-lms.uni.net.th/es_iptv/view.php?video_id=23781




   


งานวิจัย


สรุปงานวิจัย

เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ปริญญานิพนธ์

ของ

ยุพาภรณ์  ชูสาย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


จุดมุ่งหมาย

1. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง

กลุ่มประชากรตัวอย่าง

   เด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล2 ( วัดภูเขาดิน ) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ สุ่มมา 1 ห้องเรียน จาก 6 ห้องเรียน ด้วยการจับฉลาก จากนั้นสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก จำนวน 15 คน จาก 30 คน เพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง

เวลาในการดำเนินการทดลอง

  ใช้เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที รวมระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติ
2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

1. ตัวแปรต้น คือ การจัดกิจกรรมเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติ
2. ตัวแปรตาม คือ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน ได้แก่
   1).ทักษะการสังเกต
   2).ทักษะการจำแนกประเภท
   3).ทักษะการหามติสัมพันธ์
   4).ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล



ผลการวิจัย

1. ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ เด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะ หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ เด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด
2. หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาตร์สูงขึ้นกว่าก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติทั้งโดยรวมและรายทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1


วันอังคารที่ 2 ธันวาคม 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15

ความรู้ที่ได้รับ ( Knowledge )

   สำหรับวันนี้นำเสนองานวิจัยและบทโทรทัศน์ครูต่อจากสัปดาห์ก่อน

1.นางสาวธิดามาศ ศรีปาน
   นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง การกำเนิดของเสียง คือ ได้ฝึกทักษะการคิด การทดลอง การใช้คำถาม เช่น เสียงมาจากที่ไหนบ้าง มีความต่างกันอย่างไร

2.นางสาววรรนิศา นวลสุข
   นำเสนองานวิจัย เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย คือ การเรียนรู้เรื่องสีจากสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็ก สิ่งที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น ผัก ผลไม้ เด็กก็จะเกิดทักษะการสังเกต การจำแนกประเภท ทักษะการหาความสัมพันธ์ และทักษะการลงความเห็น

3.นางสาวพัชราพร พระนาค
   นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง สารอาหารในชีวิตประจำวัน คือ การเรียนรู้จากการปรุงอาหารเกิดจาการผสมส่วนประกอบต่างๆเข้าด้วยกัน ให้ได้รสชาติของอาหารตามที่ต้องการผลลัพธ์ที่ได้ คือ การเรียนรู้ในการสามารถปรุงอาหารเป็น รู้จักรสชาติของอาหาร เช่น เผ็ด เปรี้ยว หวาน เค็ม

4.นางสาวสุนิสา สะแลแม
   นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง ไฟฟ้าและพันธุ์พืช คือ สอนเรื่องการเจริญเติบโตของพืช โดยใช้สื่อการเรียนรู้นอกห้องเรียน ให้เด็กสังเกตการเจริญเติมโตของพืช จากนั้นให้เด็กทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าและพันธุ์พืช จากการที่เด็กได้ลงมือกระทำ มีสื่อ มีอุปกรณ์ให้เด็กได้ทำการทดลอง เด็กก็จะเกิดทักษะกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น

5.นางสาวศิรัวิมล หมั่นสนธิ์
   นำเสนองานวิจัย เรื่อง การเสริมประสบการณ์เรื่องแสงที่มีต่อทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย คือ กิจกรรมส่งเสริมให้เด็กแสวงหาความรู้ ซึ่งอยู่รอบๆตัวเรา แล้วนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องแสง เพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะของเด็กปฐมวัย

6.นางสาวอรชร ธนชัยวณิชกุล
   นำเสนองานวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมทำเครื่องดืื่มสมุนไพร คือ ทักษะที่ได้จากกิจกรรมนี้ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการสื่อความหมายของข้อมูล 




   จากนั้นก็ทำกิจกรรม Cooking Waffle

ส่วนผสมที่สำคัญ

1.ไข่ไก่
2.แป้ง
3.เนย
4.น้ำ



วิธีการทำ






- เริ่มจากการผสมแป้งก่อน เทแป้งลงไปในปริมาณที่พอเหมาะ ตอกไข่ ใส่เนย เทน้ำลงไปเล็กน้อย แล้วตีแป้งให้เข้ากันกับส่วนผสมทั้งหมด จนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน อย่าให้แป้งเหลวหรือแข็งจนเกินไป
- เมื่อได้แป้งตามที่ต้องการแล้ว ตักใส่ถ้วยเล็กที่เตรียมไว้ จากนั้นนำไปเทใส่เตาอบ ควรเทจากตรงกลาง ปล่อยให้แป้งกระจายตัวเอง 
- จากนั้นก็รอเวลา เมื่อสัณญาณไฟเตือนว่าสุกแล้วให้เปิดดู ถ้าสีและกลิ่นดีแล้ว แสดงว่าสุกแล้วพร้อมรับประทานได้






สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

 เราสามารถนำเอากิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาให้เราได้ทำกันนั้น ไปใช้ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ เด็กก็จะได้ฝึกการลงมือปฏิบัติ เกิดทักษะการจำ การสังเกต การทดลอง ซึ่งเป็นเทคนิกวิธีการสอนที่สสนุกสนานและมีความรู้อย่างมาก


การประเมินผล ( Evaluation)

ตนเอง  : ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและมีความสนใจกิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาสอน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของห้องเรียน ได้เกิดทักษะการคิดจากการได้ทดลองปกิบัติจริง เกิดทักษะการสังเกต เปรียบเทียบ และเกิดเป็นความรู้ใหม่ ที่สามารถนำไปต่อยอดความรู้ได้

เพื่อน  : ตั้งใจและสนใจในกิจกรรม มีความอยากรู้อยากทดลอง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม 

อาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิกการสอนแบบกิจกรรม ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่สนุกสนาน และได้ลงมือจริง เลยทำให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลาย และสนุกสนานกับการทำกิจกรรม  ทำให้นักศึกษาเกิดความอยากรู้และอยากร่วมทำกิจกรรม ทำให้การสอนวิชาวิทยาศาสตร์ไม่น่าเบื่อ








วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14


ความรุ้ที่ได้รับ ( Knowledge )

   สำหรับสัปดาห์นี้จะเป็นการนำเสนอแผนการสอนต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

กลุ่มที่ 7 หน่วยนกหงษ์หยก ( ลักษณะ )

ขั้นนำ ครูร้องเพลงและฝึกให้เด็กๆร้องตาม
ขั้นสอน  ครูแนะนำให้เด็กๆรู้จักสายพันธุ์ของนกหงษ์หยก 1.พันธุ์เยอรมัน  2.พันธุ์สตีโน จากนั้นให้เด็กๆสังเกตลักษณะของนกหงษ์หยกแต่ละสายพันธุ์ ว่ามีลักษณะอย่างไรบ้าง ครูถามแล้วให้เด็กๆตอบคำถาม ครูจดบันทึกคำตอบของเด็กๆ และสรุปเป็นองค์ความรู้ให้กับเด็กๆ


กลุ่มที่8 หน่วยสับปะรด ( ประโยชน์และข้อควรระวัง )

ขั้นนำ  ครูเล่านิทานให้เด็กๆฟัง เรื่อง หนูนาท้องผูก จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบอกประโยชน์และข้อควรระวังของการรับประทานสับปะรด
ขั้นสอน  ครูจะมีรูปมาให้เด็กๆดู แล้วเด็กๆตอบคำถาม ให้เด็กๆบอกวถึงประโยชน์และโทษของสับปะรด ครุจดบันทึกคำตอบของเด็กๆแล้วสรุปความรู้ให้เด็กๆฟัง


กลุ่มที่9 หน่วยส้ม ( การแปรรูป )

ขั้นนำ  ร้องเพลงคำคล้องจอง
ขั้นสอน ให้เด็กๆได้เรียนรู้ประโยชน์ของส้ม โดยครูนำผลิตภัณฑ์ที่ทำจากส้มหรือมีส้มเป็นส่วนประกอบมาให้เด็กๆได้ดู




   จากนั้นก็จะเป็นการนำเสนอวิจัยและบทโทรทัศน์ครู

1.นางสาวกมลชนก หยงสตาร์
   นำเสนอเรื่อง นมสีกับน้ำยาล้างจาน

2.นางสาวจุฑาทิพย์ แก่นแก้ว
   นำเสนองานวิจัย เรื่อง สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับประสาทสัมผัสทั้ง5

3.นางสาวรัตติพร ชัยยัง
   นำเสนองานวิจัย เรื่อง กระบวนการพัฒนาวิทยาศาสตร์พื้นฐานส่งเสริมศิลปะสร้างสรรค์

4.นางสาวอนุสรา แก้วชู
   นำเสนองานวิจัย เรื่อง ผลการเรียนรู้ทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

5.นางสาวรัชดาภรณ์ มณีศรี
   นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง กิจกรรมวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเรื่องหนังสือลอย




   ต่อมาเป็นกิจกรรม Cooking ทาโกยากิ

อุปกรณ์

1.ไข่ไก่
2.ผักต่างๆ
3.ข้าวสวย
4.ปูอัดหรืออย่างอื่นที่ต้องการ
5.เนย
6.ซอสปรุงรส



วิธีการทำ
   
1.ให้เด็กๆเจียวไข่แล้วตักลงถ้วยของตัวเองคนละ 1 ช้อน
2.จากนั้นให้เด็กๆหั่น แครอท ต้นหอม ปูอัด ลงในถ้วย ตามปริมาณที่อาจารย์กำหนด
3.ปรุงรสด้วยซอสปรุงรส แล้วเจียวในถ้วยของตัวเองให้คลุกเคล้าเข้ากัน
4.จากนั้นรอให้กะทะทาโกยากิร้อนพอเหมาะ ทาเนยลงในกะทะ แล้วให้เด็กๆเททาโกยากิในถ้วยของตัวเองลงในกะทะ จากนั้นให้เด็กๆสังเกตการเปลี่ยนแปลง เพื่อที่เด็กๆจะได้รู้ว่าสุกหรือยัง สีและกลิ่นที่เปลี่ยนแปลงแบบไหน ถึงจะรู้ได้ว่าทาโกยากิสุกแล้ว
5.จากนั้นให้เด็กๆดูว่าสุกหรือยัง แล้วให้เด็กๆตักทาโกยากิจากกะทะ แล้วมาชิมรส



   กิจกรรมทาโกยากินั้น เป็นกิจกรรมที่มีความเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากสิ่งของจริง และได้ลงมือปฏิบัติจริง เด็กก็จะได้ฝึกการคิด การจดจำ การสังเกต จากกิจกรรมนี้เด้กๆก็จะได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ในเรื่อง การสังงเกตและการทดลองอีกด้วย ซึ่งถ้าสามารถจจัดกิจกรรมแบบนี้ให้กับเด้กๆไได้ เด็กก็จะเกิดทักษะการลงมือทำด้วยตนเอง และเด้กก็จะสามารถจดจำความรู้ได้ดีกว่าการให้เด็กนั่งดูเฉยๆ




   สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

 สามารถนำเอากิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาให้เราทดลองนั้น ไปใช้ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้


การประเมินผล ( Evaluation)

ตนเอง   : ตั้งใจดู ตั้งใจฟัง และสนใจกิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาสอน มีส่วนร่วมในการได้ทำกิจกรรมของห้องเรียน ได้เกิดทักษะการคิดจากการได้ทดลอง สังเกต เปรียบเทียบ และเกิดเป็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง

เพื่อน     : ตั้งใจและสนใจในกิจกรรม มีความอยากรู้อยากทดลอง ร่วมมือในการทำกิจกรรม 

อาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิกการสอนแบบกิจกรรม เลยทำให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลาย และสนุกสนาน อยากรู้และอยากร่วมทำกิจกรรม ทำให้วิชาวิทยาศาสตร์ไม่น่าเบื่อและเข้าใจง่ายขึ้น






วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13


ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)

   สำหรับวันนี้เป็นการนำเสนอแผนการสอนของแต่ละกลุ่ม ดังต่อไปนี้

กลุ่มที่1 หน่วยผลไม้ ( ชนิด )

ขั้นนำ  จะมีการร้องเพลงเกี่ยวกับผลไม้
ขั้นสอน  ให้เด็กๆนับผลไม้ เด็กได้เรียกชื่อของผลไม้ตามที่เด็กๆได้เห็น


กลุ่มที่2 หน่วยแตงโม ( การแปรรูป )



ขั้นนำ  ครูนำอุปกรณ์ต่างๆมาให้เด็กดู
ขั้นสอน  สาธิตการทำน้ำแตงโมปั่นและให้เด้กๆได้ลองปฏิบัติ


กลุ่มที่3 หน่วยข้าวโพด ( ประโยชน์และข้อควรระวัง )


ขั้นนำ  เล่นนิทานให้เด็กๆฟัง เรื่อง ข้าวโพด
ขั้นสอน  ให้เด็กๆดูภาพ แล้วบอกว่าภาพใดคือประโยชน์ ภาพใดคือโทษของข้าวโพด


กลุ่มที่4 หน่วยกล้วย ( ประโยชน์และโทษ )


ขั้นนำ  เล่านิทาน เรื่อง ประโยชน์และโทษของกล้วย ให้เด็กๆฟัง
ขั้นสอน  ครูถามคำถาม ให้เด็กๆตอบ จากนั้นก็มีการเล่นเกมส์ และครูก็สรุปความรู้ให้กับเด็กๆ


กลุ่มที่5 หน่วยช้าง ( ชนิด )


ขั้นนำ  ครูร้องเพลงช้างพร้อมท่าประกอบ ให้เด็กๆดูและปฏิบัติตาม
ขั้นสอน  ให้เด้กๆดูรูป บอกสายพันธุ์ของช้าง จากนั้นทำกิจกรรม จับคุ่ภาพเมือนของช้าง


กลุ่มที่6 ผีเสื้อ ( ลักษณะ )


ขั้นนำ  เล่านิทานให้เด็กๆฟัง
ขั้นสอน  ครูให้เด็กๆดูภาพ สังเกตความแตกต่าง ของผีเสื้อ 2 ชนิด ครูจดบันทึกคำตอบของเด็ก ( ชื่อ,สี,รูปร่าง,ส่วนประกอบ ) แล้วบอกความเหมือนความต่างของผีเสื้อทั้ง 2 ชนิดนี้





สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

  ได้รู้ถึงรุปแบบการนำเสนอแผนการสอนของวันต่างๆ โดยที่รูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป สามารถนำเอาคววามรู้ที่เพื่อนได้ออกมานำเสนอ ไปปรับใช้ในการเขียนแผนการสอนของตนเอง พร้อมทั้งยังเป็นการสะสมความรู้เรื่องการเขียนแผนวิทยาศาสตร์อีกด้วย

การประเมินผล ( Evaluation)

ตนเอง  :  ตั้งใจฟังเพื่อนๆที่ออกไปนำเสนองาน มีการจดบันทึกความรู้ตามความเข้าใจของตนเอง
เพื่อน   :  มีการเตรียมตัวในการนำเสนองาน อาจมีข้อผืดพลาดบ้าง ก็มีการแก้ไขข้อบกพร่อง
อาจารย์  : อาจารย์ให้คำแนะนำเพิ่มเติม ประเมินคุณภาพของแผนการสอน บอกข้อบกพร่องและแนวทางการปรับปรุงพัฒนา