ความรู้ที่ได้รับ ( Knowledge )
สำหรับวันนี้นำเสนองานวิจัยและบทโทรทัศน์ครูต่อจากสัปดาห์ก่อน
1.นางสาวธิดามาศ ศรีปาน
นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง การกำเนิดของเสียง คือ ได้ฝึกทักษะการคิด การทดลอง การใช้คำถาม เช่น เสียงมาจากที่ไหนบ้าง มีความต่างกันอย่างไร
2.นางสาววรรนิศา นวลสุข
นำเสนองานวิจัย เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย คือ การเรียนรู้เรื่องสีจากสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็ก สิ่งที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น ผัก ผลไม้ เด็กก็จะเกิดทักษะการสังเกต การจำแนกประเภท ทักษะการหาความสัมพันธ์ และทักษะการลงความเห็น
3.นางสาวพัชราพร พระนาค
นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง สารอาหารในชีวิตประจำวัน คือ การเรียนรู้จากการปรุงอาหารเกิดจาการผสมส่วนประกอบต่างๆเข้าด้วยกัน ให้ได้รสชาติของอาหารตามที่ต้องการผลลัพธ์ที่ได้ คือ การเรียนรู้ในการสามารถปรุงอาหารเป็น รู้จักรสชาติของอาหาร เช่น เผ็ด เปรี้ยว หวาน เค็ม
4.นางสาวสุนิสา สะแลแม
นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง ไฟฟ้าและพันธุ์พืช คือ สอนเรื่องการเจริญเติบโตของพืช โดยใช้สื่อการเรียนรู้นอกห้องเรียน ให้เด็กสังเกตการเจริญเติมโตของพืช จากนั้นให้เด็กทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าและพันธุ์พืช จากการที่เด็กได้ลงมือกระทำ มีสื่อ มีอุปกรณ์ให้เด็กได้ทำการทดลอง เด็กก็จะเกิดทักษะกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น
5.นางสาวศิรัวิมล หมั่นสนธิ์
นำเสนองานวิจัย เรื่อง การเสริมประสบการณ์เรื่องแสงที่มีต่อทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย คือ กิจกรรมส่งเสริมให้เด็กแสวงหาความรู้ ซึ่งอยู่รอบๆตัวเรา แล้วนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องแสง เพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะของเด็กปฐมวัย
6.นางสาวอรชร ธนชัยวณิชกุล
นำเสนองานวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมทำเครื่องดืื่มสมุนไพร คือ ทักษะที่ได้จากกิจกรรมนี้ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการสื่อความหมายของข้อมูล
จากนั้นก็ทำกิจกรรม Cooking Waffle
ส่วนผสมที่สำคัญ
1.ไข่ไก่
2.แป้ง
3.เนย
4.น้ำ
วิธีการทำ
- เริ่มจากการผสมแป้งก่อน เทแป้งลงไปในปริมาณที่พอเหมาะ ตอกไข่ ใส่เนย เทน้ำลงไปเล็กน้อย แล้วตีแป้งให้เข้ากันกับส่วนผสมทั้งหมด จนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน อย่าให้แป้งเหลวหรือแข็งจนเกินไป
- เมื่อได้แป้งตามที่ต้องการแล้ว ตักใส่ถ้วยเล็กที่เตรียมไว้ จากนั้นนำไปเทใส่เตาอบ ควรเทจากตรงกลาง ปล่อยให้แป้งกระจายตัวเอง
- จากนั้นก็รอเวลา เมื่อสัณญาณไฟเตือนว่าสุกแล้วให้เปิดดู ถ้าสีและกลิ่นดีแล้ว แสดงว่าสุกแล้วพร้อมรับประทานได้
สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )
เราสามารถนำเอากิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาให้เราได้ทำกันนั้น ไปใช้ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ เด็กก็จะได้ฝึกการลงมือปฏิบัติ เกิดทักษะการจำ การสังเกต การทดลอง ซึ่งเป็นเทคนิกวิธีการสอนที่สสนุกสนานและมีความรู้อย่างมาก
การประเมินผล ( Evaluation)
ตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและมีความสนใจกิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาสอน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของห้องเรียน ได้เกิดทักษะการคิดจากการได้ทดลองปกิบัติจริง เกิดทักษะการสังเกต เปรียบเทียบ และเกิดเป็นความรู้ใหม่ ที่สามารถนำไปต่อยอดความรู้ได้
เพื่อน : ตั้งใจและสนใจในกิจกรรม มีความอยากรู้อยากทดลอง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
อาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิกการสอนแบบกิจกรรม ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่สนุกสนาน และได้ลงมือจริง เลยทำให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลาย และสนุกสนานกับการทำกิจกรรม ทำให้นักศึกษาเกิดความอยากรู้และอยากร่วมทำกิจกรรม ทำให้การสอนวิชาวิทยาศาสตร์ไม่น่าเบื่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น