วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13


ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)

   สำหรับวันนี้เป็นการนำเสนอแผนการสอนของแต่ละกลุ่ม ดังต่อไปนี้

กลุ่มที่1 หน่วยผลไม้ ( ชนิด )

ขั้นนำ  จะมีการร้องเพลงเกี่ยวกับผลไม้
ขั้นสอน  ให้เด็กๆนับผลไม้ เด็กได้เรียกชื่อของผลไม้ตามที่เด็กๆได้เห็น


กลุ่มที่2 หน่วยแตงโม ( การแปรรูป )



ขั้นนำ  ครูนำอุปกรณ์ต่างๆมาให้เด็กดู
ขั้นสอน  สาธิตการทำน้ำแตงโมปั่นและให้เด้กๆได้ลองปฏิบัติ


กลุ่มที่3 หน่วยข้าวโพด ( ประโยชน์และข้อควรระวัง )


ขั้นนำ  เล่นนิทานให้เด็กๆฟัง เรื่อง ข้าวโพด
ขั้นสอน  ให้เด็กๆดูภาพ แล้วบอกว่าภาพใดคือประโยชน์ ภาพใดคือโทษของข้าวโพด


กลุ่มที่4 หน่วยกล้วย ( ประโยชน์และโทษ )


ขั้นนำ  เล่านิทาน เรื่อง ประโยชน์และโทษของกล้วย ให้เด็กๆฟัง
ขั้นสอน  ครูถามคำถาม ให้เด็กๆตอบ จากนั้นก็มีการเล่นเกมส์ และครูก็สรุปความรู้ให้กับเด็กๆ


กลุ่มที่5 หน่วยช้าง ( ชนิด )


ขั้นนำ  ครูร้องเพลงช้างพร้อมท่าประกอบ ให้เด็กๆดูและปฏิบัติตาม
ขั้นสอน  ให้เด้กๆดูรูป บอกสายพันธุ์ของช้าง จากนั้นทำกิจกรรม จับคุ่ภาพเมือนของช้าง


กลุ่มที่6 ผีเสื้อ ( ลักษณะ )


ขั้นนำ  เล่านิทานให้เด็กๆฟัง
ขั้นสอน  ครูให้เด็กๆดูภาพ สังเกตความแตกต่าง ของผีเสื้อ 2 ชนิด ครูจดบันทึกคำตอบของเด็ก ( ชื่อ,สี,รูปร่าง,ส่วนประกอบ ) แล้วบอกความเหมือนความต่างของผีเสื้อทั้ง 2 ชนิดนี้





สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

  ได้รู้ถึงรุปแบบการนำเสนอแผนการสอนของวันต่างๆ โดยที่รูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป สามารถนำเอาคววามรู้ที่เพื่อนได้ออกมานำเสนอ ไปปรับใช้ในการเขียนแผนการสอนของตนเอง พร้อมทั้งยังเป็นการสะสมความรู้เรื่องการเขียนแผนวิทยาศาสตร์อีกด้วย

การประเมินผล ( Evaluation)

ตนเอง  :  ตั้งใจฟังเพื่อนๆที่ออกไปนำเสนองาน มีการจดบันทึกความรู้ตามความเข้าใจของตนเอง
เพื่อน   :  มีการเตรียมตัวในการนำเสนองาน อาจมีข้อผืดพลาดบ้าง ก็มีการแก้ไขข้อบกพร่อง
อาจารย์  : อาจารย์ให้คำแนะนำเพิ่มเติม ประเมินคุณภาพของแผนการสอน บอกข้อบกพร่องและแนวทางการปรับปรุงพัฒนา






วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12

ความรู้ที่ได้รับ ( Knowledge )

   สัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับการเขียนแผนการจจัดประสบการณ์วิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งได้ข้อมูลตัวอย่าง ดังนี้

ตัวอย่างการเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1. สาระ
2. เนื้อหา
3. แนวคิด
4. ประสบการณ์สำคัญ
5.บูรณาการรายวิชา
6. Wed กิจกรรม ( 6 กิจกรรม )

- กิจกรรมเสริมประสบการณ์
วันจันทร์           ชนิด
วันอังคาร          ลักษณะ
วันพุธ               ประโยชน์ ข้อควรระวัง
วันพฤหัสบดี     การแปรรูป
วันศุกร์              การขยายพันธุ์ การดูแลรักษา

- กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ           เต้นเพลงสับปะรด
- กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์                    ผลไม้ในตะกร้า
- กิจกรรมเสรี ( การเล่นตามมุม )           ร้านขายสับปะรด
- กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง                  ปิดตาตีสับปะรด
- กิจกรรมเกมการศึกษา                        เรียงลำดับสับปะรด

7. กรอบพัฒนา
8. วัตถุประสงค์
   8.1 บอกชือชนิด
   8.2 อธิบายลักษณะ เช่น สี พื้นผิว
   8.3 บอกประโยชน์และข้อควรระวัง สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม ( เล่านิทาน )
   8.4 เด็กบอกและสรุปขั้นตอนการทำได้
   8.5 เด็กบอกและสรุปขั้นตอนการขยายพันธุ์ พร้อมลงมือปฏิบัติได้

สาระที่ควรเรียนรู้

1. ธรรมชาติรอบตัว
2. สถานที่ บุคคล
3. ตัวเด็ก ตัวฉัน
4. สิ่งต่างๆรอบตัว



สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

   สามารถนำความรู้ที่ได้จากตัวอย่างการเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ไปใช้เป็นแนวทางในการเขียนแผนการสอนจริงได้อย่างถูกต้อง ทั้งยังรู้รูปแบบการทำ การลำดับเนื้อหาต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากกับว่าที่คุณครูปฐมวัย

การประเมินผล ( Evaluation )

ตนเอง    : ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์นำมาอธิบายซึ่งเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากต่อการเขียนแผน ฟังแล้วมีการจดบันทึกรูปแบบตัวอย่าง เพื่อเป็นข้อมูล แนวทางในการเขียนแผนต่อไปได้อย่างถูกต้อง

เพื่อน     :  ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย มีคำถามในสิ่งที่ไม่เข้าใจ ไม่สงเสียงดังรบกวนผู้อื่น มีการจดบันทึกเนื้อหาความรู้ที่ตนเองเข้าใจ

อาจารย์  :  อาจารย์นำเอาข้อมูลที่เป็นประโยนช์แก่การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ววิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมาอธิบาย และสอนให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากขึ้น นักศึกษาก็ได้ความรู้และแนวทางที่ถูกต้องไปปรับใช้ในการเรียนการสอนต่อไป



      




วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11

ความรู้ที่ได้รับ ( Knowledge )


   สำหรับสัปดาห์นี้อาจารย์เริ่มต้นการเรียนการสอนด้วย กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ง่ายๆ เด็กๆสามารถลงมือปฏิบัติ และทำกิจกรรมร่วมกับอาจารย์ได้ ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
1. ทำดอกไม้บาน

   เมื่อเราตัดกระดาษให้เป็นรูปดอกไม่แล้วพับเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมหลวมๆ จากนั้นลองนำไปลอยน้ำ ดอกไม้กระดาษจะค่อยๆบานออก เพราะน้ำได้ซึมเข้าไปยังบรฺเวณที่ว่างในกระดาษ จึงทำให้กระดาษบานออกเป็นรูปดอกไม้ได้


2. ขวดน้ำต่างระดับ

   จะเจาะรูที่ขวดสามรู ระยะห่างพอสมควร จากนั้นใส่น้ำให้เต็มขวด สังเกตดูว่าน้ำจะไหลออกจากรูใดแรงที่สุด คำตอบ คือ น้ำจะไหลออกจากรูข้างล่างสุดแรงที่สุด เพราะอยู่ยิ่งต่ำแรงดันยิ่งเยอะ จึงทำให้น้ำไหลออกจากรุด้านล่างแรงกว่ารูด้านบน


3. น้ำไหลจากสายยาง

   - น้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ยิ่งต่ำมากน้ำก็จะไหลแรงขึ้น เพราะมีแรงดันมาก
   - ข้างล่างน้ำจะไหลไปได้ไกลกว่า เพราะอากาศดันน้ำให้ออกมาข้างล่าง


4. ดินน้ำมันลอยน้ำ

   อาจารย์ได้ให้นักศึกษาปั้นดินน้ำมันให้เป็นลูกกลมๆ จากนั้นนำมาลอยน้ำ ผลปรากฎว่า ดินน้ำมันจมน้ำ จากนั้นอาจารย์ก็ให้ออกแบบไปปั้นมาว่าแบบใดจะสามารถลอยน้ำได้ ซึ่งดิฉันได้ปั้นแบบแบนๆ เพราะยิ่งว่าถ้าแบนและบางๆคงจะทำให้ลอยได้ แต่พอลองลอยน้ำก็จม และผลสรุปก็คือต้องปั้นเป็นรูปทรงตะกร้า ดินน้ำมันจึงจะสามารถลอยน้ำได้

   พอเสร็จจากกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์แล้ว อาจารย์ก็ได้สอนเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย






สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

- สามารถนำเอากิจกรรมต่างๆที่อาจารย์ได้นำมาให้เราทดลองนั้น ไปใช้ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้
- นำเอาความรู้ในเรื่องการเขียนแผน และตัวอย่างในการเขียนแผน ที่อาจารย์ได้สอนและอธิบาย ไปใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับต่อพัฒนาการของเด็ก


การประเมินผล ( Evaluation)

ตนเอง   : ตั้งใจดู ตั้งใจฟัง และสนใจกิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาสอน มีส่วนร่วมในการได้ทำกิจกรรมของห้องเรียน ได้เกิดทักษะการคิดจากการได้ทดลอง สังเกต เปรียบเทียบ และเกิดเป็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง

เพื่อน     : ตั้งใจและสนใจในกิจกรรม มีความอยากรู้อยากทดลอง ร่วมมือในการทำกิจกรรม ช่วยกันคิดและแก้ไข้ปัญหา จนได้มาซึ่งคำตอบ

อาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิกการสอนแบบกิจกรรมมาเปิดการเรียน เลยทำให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลาย และสนุกสนาน อยากรู้และอยากร่วมทำกิจกรรม ทำให้วิชาวิชาวิทยาศาสตร์ไม่น่าเบื่อและเข้าใจง่ายขึ้นคะ







วันอังคารที่ 21 ตุลาคม 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10


ความรู้ที่ได้รับ ( Knowledge )

   สำหรับสัปดาห์นี้เป็นการนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยให้อธิบายถึงวิธีการประดิษฐ์ อุปกรณ์ วิธีการเล่น และกลไกที่เกี่ยวของกับวิทยาศาสตร์ของของเล่นชิ้นนี้ ซึ่งของเล่นที่ดิฉันได้ออกมานำเสนอ คือ รถพลังลมจากวัสดุเหลือใช้




   จากนั้นอาจารย์ก็มีกิจกรรมมาให้เราได้ทำกัน คือ การประดิษฐ์ของเล่นจากแกนกระดาษทิชชู ชื่อของเล่น คือ ไต่เชือก


ดอกไม้เชือกไต่

อุปกรณ์

1.แกนกระดาษทิชชู
2.เชือกไหใพรม
3.กระดาษ
4.กาว
5.กรรไกร
6.สีที่ใช้ในการระบายตกแต่ง


วิธีการประดิษฐ์

1.ตัดแกนกระดาษทิชชูออกเป็น สองชิ้น ตัดครึ่ง เพราะเราใช้แค่ครึ่งเดียว
2.เจาะรูตรงแก มันจะมีทั้งหมด 4 รู แล้วร้อยเชือกไหมพรม ให้มีความยาวเชือกพอดีตัวเอง
3.จากนั้น วาดภาพที่ตัวเองชอบลงบนกระดาษแล้วตกแต่ง ตัดให้สวยงาม
4.แล้วนำมาติดที่แกนกระดาษทิชชูที่เตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว
5.ลองเล่นโดยการดึงเชือกขึ้นลงสลับไปมา เช่น ติดดอกไม้ ดอกไม้ก็จะขยับขึ้นลงได้


วิธีการเล่น

   ดึงเชือกขึ้นลงสลับไปมา เพื่อให้ดอกไม้ขยับ เคลื่อนไหวได้  สามารถเล่นได้ 1 คน


ของเล่นไต่เชือกกับวิทยาศาสตร์

   เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เรื่อง แรงดึง 
แรงดึง คือ แรงที่เกิดจากการเกร็งตัวเพื่อต่อต้านแรงกระทำของวัตถุ เป็นแรงที่เกิดในวัตถุมี่มีลักษณะยาวๆ เช่น เชื่อก 


ดอกไม้ไต่เชือก






สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications)

   - สามารถนำสื่อต่างๆที่เพื่อนได้นำเสนอนั้น ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการดรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัยได้
   - ของเล่นไต่เชือก สามารถนำไปจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กๆได้ โดยอาจจะเป็นกการเรียนเกี่ยวกับเรื่อง การประดิษฐ์ของงเล่นวิทยาศาสตร์ ซึ่งประดิษฐ์ง่ายๆ และเด็กสามารถทำเองได้


การประเมินผล ( Evaluation )

ตนเอง   : ยังมีข้อบกพร่องในการนำเสนอชิ้นงาน ชิ้นงานไม่ค่อยสมบูรณ์ 

เพื่อน       : มีชิ้นงานมานำเสนอครบทุกคน อาจจะมีที่ทำมาซ้ำกันบ้าง

อาจารย์  : มีการให้ข้อเสนอแนะ และแสดงความคิดเห็นในชิ้นงานของนักศึกษาทุกๆชิ้น เพื่อเป็นประโยชน์และเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้กับนักศึกษามากขึ้น







วันอังคารที่ 14 ตุลาคม 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

 ความรู้ที่ได้รับ  ( Knowledge )

   สำหรับสัปดาห์นี้ก็เป็นการนำเสนอผลงานคือสิ่งประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุเหลือใช้ ประดิษฐ์เองได้ ด้วยวิธีและขั้นตอนที่ง่ายๆ โดยอาจารย์ให้อธิบายวิธีการประดิษฐ์ อุปกรณ์ วิธีการเล่น และของเล่นชิ้นนี้มีกลไกทางวิทยาศาสตร์อย่างไร


สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

   เราสามารถนำสิ่งประดิษฐืวิทยาศาสตร์นี้ไปปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ เพราะเด็กนั้นชอบที่จะเรียนรู้จากการเล่น การลงมือปฏิบัติ จับต้องสิ่งของ ดังนั้นการใช้ของเล่นในการสอนนั้นจึงเป็นแนวทางการให้ความรู้แก่เด็กได้เป็นอย่างดี

การประเมินผล ( Evaluation )

ตนเอง     : มีความตั้งใจ ตั้งใจฟังที่เพื่อนๆได้ออกไปนำเสนอชิ้นงาน แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา
เพื่อน       : ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอ ไม่ส่งเสียงดังรบกวนเพื่อนในห้อง ให้เกียรติผู้นำเสนอ
อาจารย์   : มีการเสริมความรู้ให้ แนะนำ และมีคำถามให้นักศึกษาได้คิดอธิบายชิ้นงานของตนเอง