วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11

ความรู้ที่ได้รับ ( Knowledge )


   สำหรับสัปดาห์นี้อาจารย์เริ่มต้นการเรียนการสอนด้วย กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ง่ายๆ เด็กๆสามารถลงมือปฏิบัติ และทำกิจกรรมร่วมกับอาจารย์ได้ ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
1. ทำดอกไม้บาน

   เมื่อเราตัดกระดาษให้เป็นรูปดอกไม่แล้วพับเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมหลวมๆ จากนั้นลองนำไปลอยน้ำ ดอกไม้กระดาษจะค่อยๆบานออก เพราะน้ำได้ซึมเข้าไปยังบรฺเวณที่ว่างในกระดาษ จึงทำให้กระดาษบานออกเป็นรูปดอกไม้ได้


2. ขวดน้ำต่างระดับ

   จะเจาะรูที่ขวดสามรู ระยะห่างพอสมควร จากนั้นใส่น้ำให้เต็มขวด สังเกตดูว่าน้ำจะไหลออกจากรูใดแรงที่สุด คำตอบ คือ น้ำจะไหลออกจากรูข้างล่างสุดแรงที่สุด เพราะอยู่ยิ่งต่ำแรงดันยิ่งเยอะ จึงทำให้น้ำไหลออกจากรุด้านล่างแรงกว่ารูด้านบน


3. น้ำไหลจากสายยาง

   - น้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ยิ่งต่ำมากน้ำก็จะไหลแรงขึ้น เพราะมีแรงดันมาก
   - ข้างล่างน้ำจะไหลไปได้ไกลกว่า เพราะอากาศดันน้ำให้ออกมาข้างล่าง


4. ดินน้ำมันลอยน้ำ

   อาจารย์ได้ให้นักศึกษาปั้นดินน้ำมันให้เป็นลูกกลมๆ จากนั้นนำมาลอยน้ำ ผลปรากฎว่า ดินน้ำมันจมน้ำ จากนั้นอาจารย์ก็ให้ออกแบบไปปั้นมาว่าแบบใดจะสามารถลอยน้ำได้ ซึ่งดิฉันได้ปั้นแบบแบนๆ เพราะยิ่งว่าถ้าแบนและบางๆคงจะทำให้ลอยได้ แต่พอลองลอยน้ำก็จม และผลสรุปก็คือต้องปั้นเป็นรูปทรงตะกร้า ดินน้ำมันจึงจะสามารถลอยน้ำได้

   พอเสร็จจากกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์แล้ว อาจารย์ก็ได้สอนเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย






สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

- สามารถนำเอากิจกรรมต่างๆที่อาจารย์ได้นำมาให้เราทดลองนั้น ไปใช้ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้
- นำเอาความรู้ในเรื่องการเขียนแผน และตัวอย่างในการเขียนแผน ที่อาจารย์ได้สอนและอธิบาย ไปใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับต่อพัฒนาการของเด็ก


การประเมินผล ( Evaluation)

ตนเอง   : ตั้งใจดู ตั้งใจฟัง และสนใจกิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาสอน มีส่วนร่วมในการได้ทำกิจกรรมของห้องเรียน ได้เกิดทักษะการคิดจากการได้ทดลอง สังเกต เปรียบเทียบ และเกิดเป็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง

เพื่อน     : ตั้งใจและสนใจในกิจกรรม มีความอยากรู้อยากทดลอง ร่วมมือในการทำกิจกรรม ช่วยกันคิดและแก้ไข้ปัญหา จนได้มาซึ่งคำตอบ

อาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิกการสอนแบบกิจกรรมมาเปิดการเรียน เลยทำให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลาย และสนุกสนาน อยากรู้และอยากร่วมทำกิจกรรม ทำให้วิชาวิชาวิทยาศาสตร์ไม่น่าเบื่อและเข้าใจง่ายขึ้นคะ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น