วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ความลับของอากาศ


สรุป ความลับของอากาศ





   ลม คือ อากาศที่เคลื่อนที่ได้ อากาศนั้นจะอยู่รอบๆตัวเรา อากาศอยู่ได้ในทุกที่ มนุษย์ สัตว์ หรือพืช ต่างก็ใช้อากาศในการหายใจ ถึงเราจะมองอากาศไม่เห็นแต่อากาศก็มีตัวตน  อากาศไม่รูปร่างที่ตายตัวแต่จะแทรกตัวอยู่ อากาศต้องการที่อยู่ ถ้ามีอะไรมาแทนที่อากาศ อากาศก็จะเคลื่อนตัวออกไปทันที อากาศจะมีน้ำหนักแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความร้อนและความเย็นอากาศบริเวณนั้น

   อากาศร้อนจะมีน้ำหนักที่เบาลงทำให้วัตถุลอยขึ้น อากาศที่เราเป่าออกจากปากก็ร้อนเช่นกัน อากาศจะคอยปรับความสมดุลอยู่ตลอดเวลา ลมก็คืออากาศเย็นที่พัดผ่านเข้ามา พื้นโลกจะมีความร้อนไม่เท่ากัน ลมสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปตามวัตถุที่ขวางทางอยู่ได้

   อากาศมีคุณสมบัติที่สำคัญมากมายที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ เช่น แรงดันอากาศ " แรงดันอากาศ " คือ แรงที่อากาศกดลงพื้นผิวไปยังวัตถุต่างๆ แรงดันอากาศสามารถยกของหนักๆได้ อากาศร้อนมีแรงดันอากาศน้อยกว่าอากาศเย็น อากาศที่เคลื่อนที่ก็จะมีแรงดันน้อยกว่าอากาศที่อยู่นิ่งๆ


   


                                                   

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บทโทรทัศน์ครู Thai Teacher TV.


สรุปบทโทรทัศน์ครู Thai Teacher TV    เรื่อง สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย

  เป็นการนำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์ของ คุณครูกรรณิการ์ เฉิน  เพื่อเป็นเทคนิกในการพัฒนาการของเด็กปฐมวัย โดยการใช้วัสดุรอบตัว โดยใช้น้ำตาลก้อนหยดสีลงไปแล้วดูการเปลี่ยนแปลง การใช้กระดาษทิชชู่อธิบายความลับของสีดำ ซึ่งมีสีอื่นๆซ่อนอยู่มากมาย หรืออธิบายเรื่องแรงตึงของผิวน้ำ โดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆ ที่อยู่รอบตัวในการอธิบายให้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่าย

ยกตัวอย่างกิจกรรม กระดาษทิชชู่อธิบายความลับของสีดำ

   ขั้นเริ่มต้น ครูจจะให้เด็กๆออกมาระบายสีที่หน้าชั้นเรียน โดยใช้สีที่แตกต่างกันไป แต่ไม่มีใครใช้สีดำระบาย จากนั้นเวลาล้างพู่กันให้จุ่มพู่กันล้างลงในแก้วเดียวกัน ซึ่งน้ำที่ล้างกลายเป็นสีดำ แล้วเชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรม

- ครูถามเด็กๆว่ามีใครใช้สีดำระบายรูปภาพบ้างไหม เด็กๆก็ต่างตอบว่าไม่มีครับ/คะ
- ครูได้แจกกระดาษให้กับเด็กๆ เจาะรูตรงกลางกระดาษ วาดภาพบริเวณที่เจาะรู ด้วยปากกาหมึกสีดำ จากนั้น แล้วก็นำกระดาษทิชชูมาพันเป็นกรวย เสียใส่รูของกรระดาษ
- แล้วก็นำกรวยจุ่มลงแก้วน้ำ ปรากฏว่า น้ำค่อยๆซึมผ่านกระดาษไปสู่สี สีดำเริ่มกระจายตามพื้นผิวกระดาษทิชชู จากสีดำก็ค่อยๆจางไป กลายเป็นสีอื่นๆ
-เด็กก็จะได้รู้ถึงความลับของสีดำว่าสามารถเปลี่ยนแปลงกลายเป็นสีอื่นๆได้ด้วย



แหล่งอ้างอิง : http://iptv-lms.uni.net.th/es_iptv/view.php?video_id=23781




   


งานวิจัย


สรุปงานวิจัย

เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ปริญญานิพนธ์

ของ

ยุพาภรณ์  ชูสาย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


จุดมุ่งหมาย

1. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง

กลุ่มประชากรตัวอย่าง

   เด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล2 ( วัดภูเขาดิน ) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ สุ่มมา 1 ห้องเรียน จาก 6 ห้องเรียน ด้วยการจับฉลาก จากนั้นสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก จำนวน 15 คน จาก 30 คน เพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง

เวลาในการดำเนินการทดลอง

  ใช้เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที รวมระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติ
2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

1. ตัวแปรต้น คือ การจัดกิจกรรมเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติ
2. ตัวแปรตาม คือ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน ได้แก่
   1).ทักษะการสังเกต
   2).ทักษะการจำแนกประเภท
   3).ทักษะการหามติสัมพันธ์
   4).ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล



ผลการวิจัย

1. ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ เด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะ หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ เด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด
2. หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาตร์สูงขึ้นกว่าก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติทั้งโดยรวมและรายทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1


วันอังคารที่ 2 ธันวาคม 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15

ความรู้ที่ได้รับ ( Knowledge )

   สำหรับวันนี้นำเสนองานวิจัยและบทโทรทัศน์ครูต่อจากสัปดาห์ก่อน

1.นางสาวธิดามาศ ศรีปาน
   นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง การกำเนิดของเสียง คือ ได้ฝึกทักษะการคิด การทดลอง การใช้คำถาม เช่น เสียงมาจากที่ไหนบ้าง มีความต่างกันอย่างไร

2.นางสาววรรนิศา นวลสุข
   นำเสนองานวิจัย เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย คือ การเรียนรู้เรื่องสีจากสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็ก สิ่งที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น ผัก ผลไม้ เด็กก็จะเกิดทักษะการสังเกต การจำแนกประเภท ทักษะการหาความสัมพันธ์ และทักษะการลงความเห็น

3.นางสาวพัชราพร พระนาค
   นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง สารอาหารในชีวิตประจำวัน คือ การเรียนรู้จากการปรุงอาหารเกิดจาการผสมส่วนประกอบต่างๆเข้าด้วยกัน ให้ได้รสชาติของอาหารตามที่ต้องการผลลัพธ์ที่ได้ คือ การเรียนรู้ในการสามารถปรุงอาหารเป็น รู้จักรสชาติของอาหาร เช่น เผ็ด เปรี้ยว หวาน เค็ม

4.นางสาวสุนิสา สะแลแม
   นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง ไฟฟ้าและพันธุ์พืช คือ สอนเรื่องการเจริญเติบโตของพืช โดยใช้สื่อการเรียนรู้นอกห้องเรียน ให้เด็กสังเกตการเจริญเติมโตของพืช จากนั้นให้เด็กทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าและพันธุ์พืช จากการที่เด็กได้ลงมือกระทำ มีสื่อ มีอุปกรณ์ให้เด็กได้ทำการทดลอง เด็กก็จะเกิดทักษะกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น

5.นางสาวศิรัวิมล หมั่นสนธิ์
   นำเสนองานวิจัย เรื่อง การเสริมประสบการณ์เรื่องแสงที่มีต่อทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย คือ กิจกรรมส่งเสริมให้เด็กแสวงหาความรู้ ซึ่งอยู่รอบๆตัวเรา แล้วนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องแสง เพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะของเด็กปฐมวัย

6.นางสาวอรชร ธนชัยวณิชกุล
   นำเสนองานวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมทำเครื่องดืื่มสมุนไพร คือ ทักษะที่ได้จากกิจกรรมนี้ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการสื่อความหมายของข้อมูล 




   จากนั้นก็ทำกิจกรรม Cooking Waffle

ส่วนผสมที่สำคัญ

1.ไข่ไก่
2.แป้ง
3.เนย
4.น้ำ



วิธีการทำ






- เริ่มจากการผสมแป้งก่อน เทแป้งลงไปในปริมาณที่พอเหมาะ ตอกไข่ ใส่เนย เทน้ำลงไปเล็กน้อย แล้วตีแป้งให้เข้ากันกับส่วนผสมทั้งหมด จนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน อย่าให้แป้งเหลวหรือแข็งจนเกินไป
- เมื่อได้แป้งตามที่ต้องการแล้ว ตักใส่ถ้วยเล็กที่เตรียมไว้ จากนั้นนำไปเทใส่เตาอบ ควรเทจากตรงกลาง ปล่อยให้แป้งกระจายตัวเอง 
- จากนั้นก็รอเวลา เมื่อสัณญาณไฟเตือนว่าสุกแล้วให้เปิดดู ถ้าสีและกลิ่นดีแล้ว แสดงว่าสุกแล้วพร้อมรับประทานได้






สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

 เราสามารถนำเอากิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาให้เราได้ทำกันนั้น ไปใช้ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ เด็กก็จะได้ฝึกการลงมือปฏิบัติ เกิดทักษะการจำ การสังเกต การทดลอง ซึ่งเป็นเทคนิกวิธีการสอนที่สสนุกสนานและมีความรู้อย่างมาก


การประเมินผล ( Evaluation)

ตนเอง  : ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและมีความสนใจกิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาสอน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของห้องเรียน ได้เกิดทักษะการคิดจากการได้ทดลองปกิบัติจริง เกิดทักษะการสังเกต เปรียบเทียบ และเกิดเป็นความรู้ใหม่ ที่สามารถนำไปต่อยอดความรู้ได้

เพื่อน  : ตั้งใจและสนใจในกิจกรรม มีความอยากรู้อยากทดลอง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม 

อาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิกการสอนแบบกิจกรรม ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่สนุกสนาน และได้ลงมือจริง เลยทำให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลาย และสนุกสนานกับการทำกิจกรรม  ทำให้นักศึกษาเกิดความอยากรู้และอยากร่วมทำกิจกรรม ทำให้การสอนวิชาวิทยาศาสตร์ไม่น่าเบื่อ








วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14


ความรุ้ที่ได้รับ ( Knowledge )

   สำหรับสัปดาห์นี้จะเป็นการนำเสนอแผนการสอนต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

กลุ่มที่ 7 หน่วยนกหงษ์หยก ( ลักษณะ )

ขั้นนำ ครูร้องเพลงและฝึกให้เด็กๆร้องตาม
ขั้นสอน  ครูแนะนำให้เด็กๆรู้จักสายพันธุ์ของนกหงษ์หยก 1.พันธุ์เยอรมัน  2.พันธุ์สตีโน จากนั้นให้เด็กๆสังเกตลักษณะของนกหงษ์หยกแต่ละสายพันธุ์ ว่ามีลักษณะอย่างไรบ้าง ครูถามแล้วให้เด็กๆตอบคำถาม ครูจดบันทึกคำตอบของเด็กๆ และสรุปเป็นองค์ความรู้ให้กับเด็กๆ


กลุ่มที่8 หน่วยสับปะรด ( ประโยชน์และข้อควรระวัง )

ขั้นนำ  ครูเล่านิทานให้เด็กๆฟัง เรื่อง หนูนาท้องผูก จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบอกประโยชน์และข้อควรระวังของการรับประทานสับปะรด
ขั้นสอน  ครูจะมีรูปมาให้เด็กๆดู แล้วเด็กๆตอบคำถาม ให้เด็กๆบอกวถึงประโยชน์และโทษของสับปะรด ครุจดบันทึกคำตอบของเด็กๆแล้วสรุปความรู้ให้เด็กๆฟัง


กลุ่มที่9 หน่วยส้ม ( การแปรรูป )

ขั้นนำ  ร้องเพลงคำคล้องจอง
ขั้นสอน ให้เด็กๆได้เรียนรู้ประโยชน์ของส้ม โดยครูนำผลิตภัณฑ์ที่ทำจากส้มหรือมีส้มเป็นส่วนประกอบมาให้เด็กๆได้ดู




   จากนั้นก็จะเป็นการนำเสนอวิจัยและบทโทรทัศน์ครู

1.นางสาวกมลชนก หยงสตาร์
   นำเสนอเรื่อง นมสีกับน้ำยาล้างจาน

2.นางสาวจุฑาทิพย์ แก่นแก้ว
   นำเสนองานวิจัย เรื่อง สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับประสาทสัมผัสทั้ง5

3.นางสาวรัตติพร ชัยยัง
   นำเสนองานวิจัย เรื่อง กระบวนการพัฒนาวิทยาศาสตร์พื้นฐานส่งเสริมศิลปะสร้างสรรค์

4.นางสาวอนุสรา แก้วชู
   นำเสนองานวิจัย เรื่อง ผลการเรียนรู้ทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

5.นางสาวรัชดาภรณ์ มณีศรี
   นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง กิจกรรมวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเรื่องหนังสือลอย




   ต่อมาเป็นกิจกรรม Cooking ทาโกยากิ

อุปกรณ์

1.ไข่ไก่
2.ผักต่างๆ
3.ข้าวสวย
4.ปูอัดหรืออย่างอื่นที่ต้องการ
5.เนย
6.ซอสปรุงรส



วิธีการทำ
   
1.ให้เด็กๆเจียวไข่แล้วตักลงถ้วยของตัวเองคนละ 1 ช้อน
2.จากนั้นให้เด็กๆหั่น แครอท ต้นหอม ปูอัด ลงในถ้วย ตามปริมาณที่อาจารย์กำหนด
3.ปรุงรสด้วยซอสปรุงรส แล้วเจียวในถ้วยของตัวเองให้คลุกเคล้าเข้ากัน
4.จากนั้นรอให้กะทะทาโกยากิร้อนพอเหมาะ ทาเนยลงในกะทะ แล้วให้เด็กๆเททาโกยากิในถ้วยของตัวเองลงในกะทะ จากนั้นให้เด็กๆสังเกตการเปลี่ยนแปลง เพื่อที่เด็กๆจะได้รู้ว่าสุกหรือยัง สีและกลิ่นที่เปลี่ยนแปลงแบบไหน ถึงจะรู้ได้ว่าทาโกยากิสุกแล้ว
5.จากนั้นให้เด็กๆดูว่าสุกหรือยัง แล้วให้เด็กๆตักทาโกยากิจากกะทะ แล้วมาชิมรส



   กิจกรรมทาโกยากินั้น เป็นกิจกรรมที่มีความเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากสิ่งของจริง และได้ลงมือปฏิบัติจริง เด็กก็จะได้ฝึกการคิด การจดจำ การสังเกต จากกิจกรรมนี้เด้กๆก็จะได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ในเรื่อง การสังงเกตและการทดลองอีกด้วย ซึ่งถ้าสามารถจจัดกิจกรรมแบบนี้ให้กับเด้กๆไได้ เด็กก็จะเกิดทักษะการลงมือทำด้วยตนเอง และเด้กก็จะสามารถจดจำความรู้ได้ดีกว่าการให้เด็กนั่งดูเฉยๆ




   สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

 สามารถนำเอากิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาให้เราทดลองนั้น ไปใช้ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้


การประเมินผล ( Evaluation)

ตนเอง   : ตั้งใจดู ตั้งใจฟัง และสนใจกิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาสอน มีส่วนร่วมในการได้ทำกิจกรรมของห้องเรียน ได้เกิดทักษะการคิดจากการได้ทดลอง สังเกต เปรียบเทียบ และเกิดเป็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง

เพื่อน     : ตั้งใจและสนใจในกิจกรรม มีความอยากรู้อยากทดลอง ร่วมมือในการทำกิจกรรม 

อาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิกการสอนแบบกิจกรรม เลยทำให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลาย และสนุกสนาน อยากรู้และอยากร่วมทำกิจกรรม ทำให้วิชาวิทยาศาสตร์ไม่น่าเบื่อและเข้าใจง่ายขึ้น






วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13


ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)

   สำหรับวันนี้เป็นการนำเสนอแผนการสอนของแต่ละกลุ่ม ดังต่อไปนี้

กลุ่มที่1 หน่วยผลไม้ ( ชนิด )

ขั้นนำ  จะมีการร้องเพลงเกี่ยวกับผลไม้
ขั้นสอน  ให้เด็กๆนับผลไม้ เด็กได้เรียกชื่อของผลไม้ตามที่เด็กๆได้เห็น


กลุ่มที่2 หน่วยแตงโม ( การแปรรูป )



ขั้นนำ  ครูนำอุปกรณ์ต่างๆมาให้เด็กดู
ขั้นสอน  สาธิตการทำน้ำแตงโมปั่นและให้เด้กๆได้ลองปฏิบัติ


กลุ่มที่3 หน่วยข้าวโพด ( ประโยชน์และข้อควรระวัง )


ขั้นนำ  เล่นนิทานให้เด็กๆฟัง เรื่อง ข้าวโพด
ขั้นสอน  ให้เด็กๆดูภาพ แล้วบอกว่าภาพใดคือประโยชน์ ภาพใดคือโทษของข้าวโพด


กลุ่มที่4 หน่วยกล้วย ( ประโยชน์และโทษ )


ขั้นนำ  เล่านิทาน เรื่อง ประโยชน์และโทษของกล้วย ให้เด็กๆฟัง
ขั้นสอน  ครูถามคำถาม ให้เด็กๆตอบ จากนั้นก็มีการเล่นเกมส์ และครูก็สรุปความรู้ให้กับเด็กๆ


กลุ่มที่5 หน่วยช้าง ( ชนิด )


ขั้นนำ  ครูร้องเพลงช้างพร้อมท่าประกอบ ให้เด็กๆดูและปฏิบัติตาม
ขั้นสอน  ให้เด้กๆดูรูป บอกสายพันธุ์ของช้าง จากนั้นทำกิจกรรม จับคุ่ภาพเมือนของช้าง


กลุ่มที่6 ผีเสื้อ ( ลักษณะ )


ขั้นนำ  เล่านิทานให้เด็กๆฟัง
ขั้นสอน  ครูให้เด็กๆดูภาพ สังเกตความแตกต่าง ของผีเสื้อ 2 ชนิด ครูจดบันทึกคำตอบของเด็ก ( ชื่อ,สี,รูปร่าง,ส่วนประกอบ ) แล้วบอกความเหมือนความต่างของผีเสื้อทั้ง 2 ชนิดนี้





สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

  ได้รู้ถึงรุปแบบการนำเสนอแผนการสอนของวันต่างๆ โดยที่รูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป สามารถนำเอาคววามรู้ที่เพื่อนได้ออกมานำเสนอ ไปปรับใช้ในการเขียนแผนการสอนของตนเอง พร้อมทั้งยังเป็นการสะสมความรู้เรื่องการเขียนแผนวิทยาศาสตร์อีกด้วย

การประเมินผล ( Evaluation)

ตนเอง  :  ตั้งใจฟังเพื่อนๆที่ออกไปนำเสนองาน มีการจดบันทึกความรู้ตามความเข้าใจของตนเอง
เพื่อน   :  มีการเตรียมตัวในการนำเสนองาน อาจมีข้อผืดพลาดบ้าง ก็มีการแก้ไขข้อบกพร่อง
อาจารย์  : อาจารย์ให้คำแนะนำเพิ่มเติม ประเมินคุณภาพของแผนการสอน บอกข้อบกพร่องและแนวทางการปรับปรุงพัฒนา






วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12

ความรู้ที่ได้รับ ( Knowledge )

   สัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับการเขียนแผนการจจัดประสบการณ์วิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งได้ข้อมูลตัวอย่าง ดังนี้

ตัวอย่างการเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1. สาระ
2. เนื้อหา
3. แนวคิด
4. ประสบการณ์สำคัญ
5.บูรณาการรายวิชา
6. Wed กิจกรรม ( 6 กิจกรรม )

- กิจกรรมเสริมประสบการณ์
วันจันทร์           ชนิด
วันอังคาร          ลักษณะ
วันพุธ               ประโยชน์ ข้อควรระวัง
วันพฤหัสบดี     การแปรรูป
วันศุกร์              การขยายพันธุ์ การดูแลรักษา

- กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ           เต้นเพลงสับปะรด
- กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์                    ผลไม้ในตะกร้า
- กิจกรรมเสรี ( การเล่นตามมุม )           ร้านขายสับปะรด
- กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง                  ปิดตาตีสับปะรด
- กิจกรรมเกมการศึกษา                        เรียงลำดับสับปะรด

7. กรอบพัฒนา
8. วัตถุประสงค์
   8.1 บอกชือชนิด
   8.2 อธิบายลักษณะ เช่น สี พื้นผิว
   8.3 บอกประโยชน์และข้อควรระวัง สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม ( เล่านิทาน )
   8.4 เด็กบอกและสรุปขั้นตอนการทำได้
   8.5 เด็กบอกและสรุปขั้นตอนการขยายพันธุ์ พร้อมลงมือปฏิบัติได้

สาระที่ควรเรียนรู้

1. ธรรมชาติรอบตัว
2. สถานที่ บุคคล
3. ตัวเด็ก ตัวฉัน
4. สิ่งต่างๆรอบตัว



สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

   สามารถนำความรู้ที่ได้จากตัวอย่างการเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ไปใช้เป็นแนวทางในการเขียนแผนการสอนจริงได้อย่างถูกต้อง ทั้งยังรู้รูปแบบการทำ การลำดับเนื้อหาต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากกับว่าที่คุณครูปฐมวัย

การประเมินผล ( Evaluation )

ตนเอง    : ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์นำมาอธิบายซึ่งเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากต่อการเขียนแผน ฟังแล้วมีการจดบันทึกรูปแบบตัวอย่าง เพื่อเป็นข้อมูล แนวทางในการเขียนแผนต่อไปได้อย่างถูกต้อง

เพื่อน     :  ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย มีคำถามในสิ่งที่ไม่เข้าใจ ไม่สงเสียงดังรบกวนผู้อื่น มีการจดบันทึกเนื้อหาความรู้ที่ตนเองเข้าใจ

อาจารย์  :  อาจารย์นำเอาข้อมูลที่เป็นประโยนช์แก่การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ววิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมาอธิบาย และสอนให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากขึ้น นักศึกษาก็ได้ความรู้และแนวทางที่ถูกต้องไปปรับใช้ในการเรียนการสอนต่อไป



      




วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11

ความรู้ที่ได้รับ ( Knowledge )


   สำหรับสัปดาห์นี้อาจารย์เริ่มต้นการเรียนการสอนด้วย กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ง่ายๆ เด็กๆสามารถลงมือปฏิบัติ และทำกิจกรรมร่วมกับอาจารย์ได้ ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
1. ทำดอกไม้บาน

   เมื่อเราตัดกระดาษให้เป็นรูปดอกไม่แล้วพับเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมหลวมๆ จากนั้นลองนำไปลอยน้ำ ดอกไม้กระดาษจะค่อยๆบานออก เพราะน้ำได้ซึมเข้าไปยังบรฺเวณที่ว่างในกระดาษ จึงทำให้กระดาษบานออกเป็นรูปดอกไม้ได้


2. ขวดน้ำต่างระดับ

   จะเจาะรูที่ขวดสามรู ระยะห่างพอสมควร จากนั้นใส่น้ำให้เต็มขวด สังเกตดูว่าน้ำจะไหลออกจากรูใดแรงที่สุด คำตอบ คือ น้ำจะไหลออกจากรูข้างล่างสุดแรงที่สุด เพราะอยู่ยิ่งต่ำแรงดันยิ่งเยอะ จึงทำให้น้ำไหลออกจากรุด้านล่างแรงกว่ารูด้านบน


3. น้ำไหลจากสายยาง

   - น้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ยิ่งต่ำมากน้ำก็จะไหลแรงขึ้น เพราะมีแรงดันมาก
   - ข้างล่างน้ำจะไหลไปได้ไกลกว่า เพราะอากาศดันน้ำให้ออกมาข้างล่าง


4. ดินน้ำมันลอยน้ำ

   อาจารย์ได้ให้นักศึกษาปั้นดินน้ำมันให้เป็นลูกกลมๆ จากนั้นนำมาลอยน้ำ ผลปรากฎว่า ดินน้ำมันจมน้ำ จากนั้นอาจารย์ก็ให้ออกแบบไปปั้นมาว่าแบบใดจะสามารถลอยน้ำได้ ซึ่งดิฉันได้ปั้นแบบแบนๆ เพราะยิ่งว่าถ้าแบนและบางๆคงจะทำให้ลอยได้ แต่พอลองลอยน้ำก็จม และผลสรุปก็คือต้องปั้นเป็นรูปทรงตะกร้า ดินน้ำมันจึงจะสามารถลอยน้ำได้

   พอเสร็จจากกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์แล้ว อาจารย์ก็ได้สอนเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย






สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

- สามารถนำเอากิจกรรมต่างๆที่อาจารย์ได้นำมาให้เราทดลองนั้น ไปใช้ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้
- นำเอาความรู้ในเรื่องการเขียนแผน และตัวอย่างในการเขียนแผน ที่อาจารย์ได้สอนและอธิบาย ไปใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับต่อพัฒนาการของเด็ก


การประเมินผล ( Evaluation)

ตนเอง   : ตั้งใจดู ตั้งใจฟัง และสนใจกิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาสอน มีส่วนร่วมในการได้ทำกิจกรรมของห้องเรียน ได้เกิดทักษะการคิดจากการได้ทดลอง สังเกต เปรียบเทียบ และเกิดเป็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง

เพื่อน     : ตั้งใจและสนใจในกิจกรรม มีความอยากรู้อยากทดลอง ร่วมมือในการทำกิจกรรม ช่วยกันคิดและแก้ไข้ปัญหา จนได้มาซึ่งคำตอบ

อาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิกการสอนแบบกิจกรรมมาเปิดการเรียน เลยทำให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลาย และสนุกสนาน อยากรู้และอยากร่วมทำกิจกรรม ทำให้วิชาวิชาวิทยาศาสตร์ไม่น่าเบื่อและเข้าใจง่ายขึ้นคะ







วันอังคารที่ 21 ตุลาคม 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10


ความรู้ที่ได้รับ ( Knowledge )

   สำหรับสัปดาห์นี้เป็นการนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยให้อธิบายถึงวิธีการประดิษฐ์ อุปกรณ์ วิธีการเล่น และกลไกที่เกี่ยวของกับวิทยาศาสตร์ของของเล่นชิ้นนี้ ซึ่งของเล่นที่ดิฉันได้ออกมานำเสนอ คือ รถพลังลมจากวัสดุเหลือใช้




   จากนั้นอาจารย์ก็มีกิจกรรมมาให้เราได้ทำกัน คือ การประดิษฐ์ของเล่นจากแกนกระดาษทิชชู ชื่อของเล่น คือ ไต่เชือก


ดอกไม้เชือกไต่

อุปกรณ์

1.แกนกระดาษทิชชู
2.เชือกไหใพรม
3.กระดาษ
4.กาว
5.กรรไกร
6.สีที่ใช้ในการระบายตกแต่ง


วิธีการประดิษฐ์

1.ตัดแกนกระดาษทิชชูออกเป็น สองชิ้น ตัดครึ่ง เพราะเราใช้แค่ครึ่งเดียว
2.เจาะรูตรงแก มันจะมีทั้งหมด 4 รู แล้วร้อยเชือกไหมพรม ให้มีความยาวเชือกพอดีตัวเอง
3.จากนั้น วาดภาพที่ตัวเองชอบลงบนกระดาษแล้วตกแต่ง ตัดให้สวยงาม
4.แล้วนำมาติดที่แกนกระดาษทิชชูที่เตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว
5.ลองเล่นโดยการดึงเชือกขึ้นลงสลับไปมา เช่น ติดดอกไม้ ดอกไม้ก็จะขยับขึ้นลงได้


วิธีการเล่น

   ดึงเชือกขึ้นลงสลับไปมา เพื่อให้ดอกไม้ขยับ เคลื่อนไหวได้  สามารถเล่นได้ 1 คน


ของเล่นไต่เชือกกับวิทยาศาสตร์

   เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เรื่อง แรงดึง 
แรงดึง คือ แรงที่เกิดจากการเกร็งตัวเพื่อต่อต้านแรงกระทำของวัตถุ เป็นแรงที่เกิดในวัตถุมี่มีลักษณะยาวๆ เช่น เชื่อก 


ดอกไม้ไต่เชือก






สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications)

   - สามารถนำสื่อต่างๆที่เพื่อนได้นำเสนอนั้น ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการดรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัยได้
   - ของเล่นไต่เชือก สามารถนำไปจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กๆได้ โดยอาจจะเป็นกการเรียนเกี่ยวกับเรื่อง การประดิษฐ์ของงเล่นวิทยาศาสตร์ ซึ่งประดิษฐ์ง่ายๆ และเด็กสามารถทำเองได้


การประเมินผล ( Evaluation )

ตนเอง   : ยังมีข้อบกพร่องในการนำเสนอชิ้นงาน ชิ้นงานไม่ค่อยสมบูรณ์ 

เพื่อน       : มีชิ้นงานมานำเสนอครบทุกคน อาจจะมีที่ทำมาซ้ำกันบ้าง

อาจารย์  : มีการให้ข้อเสนอแนะ และแสดงความคิดเห็นในชิ้นงานของนักศึกษาทุกๆชิ้น เพื่อเป็นประโยชน์และเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้กับนักศึกษามากขึ้น







วันอังคารที่ 14 ตุลาคม 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

 ความรู้ที่ได้รับ  ( Knowledge )

   สำหรับสัปดาห์นี้ก็เป็นการนำเสนอผลงานคือสิ่งประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุเหลือใช้ ประดิษฐ์เองได้ ด้วยวิธีและขั้นตอนที่ง่ายๆ โดยอาจารย์ให้อธิบายวิธีการประดิษฐ์ อุปกรณ์ วิธีการเล่น และของเล่นชิ้นนี้มีกลไกทางวิทยาศาสตร์อย่างไร


สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

   เราสามารถนำสิ่งประดิษฐืวิทยาศาสตร์นี้ไปปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ เพราะเด็กนั้นชอบที่จะเรียนรู้จากการเล่น การลงมือปฏิบัติ จับต้องสิ่งของ ดังนั้นการใช้ของเล่นในการสอนนั้นจึงเป็นแนวทางการให้ความรู้แก่เด็กได้เป็นอย่างดี

การประเมินผล ( Evaluation )

ตนเอง     : มีความตั้งใจ ตั้งใจฟังที่เพื่อนๆได้ออกไปนำเสนอชิ้นงาน แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา
เพื่อน       : ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอ ไม่ส่งเสียงดังรบกวนเพื่อนในห้อง ให้เกียรติผู้นำเสนอ
อาจารย์   : มีการเสริมความรู้ให้ แนะนำ และมีคำถามให้นักศึกษาได้คิดอธิบายชิ้นงานของตนเอง







วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์

MEDIA SCIENCES

ลิงกระโดด









อุปกรณ์ 

1.หลอด                                              
2.กระดาษแข็ง                                     
3.ตะเกียบไม้
4.กาว                                                             
5.เชือกเส้นเล็ก
6.ตะปูเล็ก                                  








วิธีการประดิษฐ์

1. ทำโครงก่อน เราใช้ไม่ตะเกียบทรงสี่เหลี่ยม สองชิ้นใช้ไม้ที่ยาวเท่ากัน แล้วอีกอันคือชิ้นเล็กที่อยู่ตรงกลาง เราใช้ตัวยึดด้วยการตอกตะปุอันเล็กลง ความห่างพอเหมาะ
2.นำหลอดสีมาตัดให้ความยาวเท่าๆกันและพอดีกับตะเกียบ ใช้หลอด 2 อัน
3.ขั้นทำลิง เราก็จะใช้กะดาษแข็งตัดเป็นรูปแล้วระบายสี หรือจะใช้แม่แบบเลยก็ได้ถ้าใครไม่ถนัดการวาดภาพ ส่วนแขนและขาต้องทำให้กระดุกกระดิกได้ เพื่อให้ลิงเคลือนไหวได้สวยงาม
4.จากนั้นนำลิงมาร้อยเชือก แล้วนำเชือกร้อยและมัดใส่ไม้ตะเกียบที่เตรียมไว้ โดยเชือกทั้งสองด้วยถ้าอยู่บนต้องให้บนเหมือนกัน เพื่อนที่เวลาเล่น ลิงจะได้หมุนกระโดดได้


วิธีการเล่น

   หมุนตัวลิงก่อน คล้ายๆกับการเล่นโยโย่ แล้วบีบที่ไม้ตะเกียน ลิงก็จะหมุนเหมือนลิงกระโดดนั่นเอง


รถพลังลมกับวิทยาศาสตร์

   ของเล่นชิ้นนี้จะอาศัย แรงดันอากาศ ในการลิงนั้นกระโดดเคลื่อนที่ แรงดันอากาศ คือ แรงที่เกิดจากอนุภาคของอากาศที่ชนกันเองตลอดเวลาในทุกทิศทางพุ่งมาชนกับภาชนะ แล้วดันวัตถุให้เคลื่อนที่ ซึ่งการเล่นลิงกระโดดนี้จะต้องใช้อากาศ โดยการที่เราใช้แรงบีบ เพื่อให้ลิงเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ในเรื่องของแรงลมและเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินอีกด้วย


สิ่งที่เด็กจะได้รับ

   เด็กได้เล่นของเล่นที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง พร้อมทั้งยังแทรกความรู้ในเรื่องวิทยาศาสตร์อีกด้วย ซึ้งจะไม่เป็นเรื่องอยากและสิ่งที่น่าเบื่อสำหรับเด็ก เพราะการเรียนรู้จากลิงกระโดดนั้น เกิดจากการเล่นของเด็ก ไม่ใช่ความรู้ที่เกิดจากการฝึกอ่านเนื้อหาหรือท่องจำ







วันอังคารที่ 7 ตุลาคม 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8

   สำหรับสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เพราะเป็นช่วงการสอบกลางภาคของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ระหว่างวันที่ 6-10 ตุลาคม 2557




วันอังคารที่ 30 กันยายน 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

   สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากฝนตกหนัก เลยทำให้การเดินทางมาเรียนและสอนไม่สะดวกเลยกลับไปทำการบ้านและอ่านหนังสือ






วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 23 กันยายน 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

ความรู้ที่ได้รับ ( Knowledge )

   วันนี้เริ่มต้นการเรียนการสอนด้วยการทำลูกยางกระดาษ โดยอาจารย์เตรียมอุปกรณ์ให้ แล้วสอนวิธีการทำ ถ้านำกิจกรรมนี้ไปใช้กับเด็ก ให้เด็กได้สร้างชิ้นงานด้วยตนเอง ตามทฤษฎี Constructivism คือ การให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง แล้วจากนั้นก็จะเป็นการนำเสนอบทความของเพื่อนๆ

ผู้นำเสนอ คนที่ 1  นางสาวนภาวรรณ กุดขุนเทียน

เรื่อง สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จากเป็ดและไก่
ผู้เขียน อาจารย์ลำพรรณี มืดขุนทด
   จะเป็นการนำเสนอเกียวกับการเรียนรู้ผ่านนิทาน เรื่อง หนูไก่คนเก่ง โดยมีขั้นตอนดังนี้
- นำเด็กร้องเพลงไก่ และทำท่าทางตามอิสระ
- สนทนาและตั้งคำถามกับเด็ก " ไก่กับเป็ดเหมือนหรือต่างกันอย่างไร "
- จากนั้นให้เด็กวาดภาพตามจินตนาการ และครูก็บันทึกคำตอบของเด็กๆลงภาพนั้น



ผู้นำเสนอ คนที่ 2  นางสาวสุธาสินี ธรรมานนท์

เรื่อง  5แนวทางให้เด็กทดลองวิทยาศาสตร์
ผู้เขียน ดร.เพกัญญา พรหมขัติแก้ว
   ก็จะเป็นการบอกเกี่ยวกับขั้นตอนในการทำกิจกรรม ดังนี้
1.ตั้งคำถามให้เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง
2.ออกไปหาคำตอบด้วยกัน
3.เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาคำตอบที่ได้พบมาตอบคำถาม
4.นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจ ตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อนๆได้ฟัง
5.นำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้น ไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์


ผู้นำเสนอ คนที่ 3  นางสาวนฤมล อิสระ

เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้เขียน อาจารย์ วัลลภา ขุมหิรัญ
   ก็จะบอกถึงการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ มีดังนี้
- สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
- สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
- ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ 
- ส่งเสริมกระบวนการคิด
- ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
- ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
- เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ


ผู้นำเสนอ คนที่ 4  นางสาวยุพดี สนประเสริฐ

เรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร
ผู้เขียน สสวท.
   ให้เด็กๆได้ทำกิจกรรม เรียนรู้ผ่านการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้ การคิดและลงมือแก้ไขปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย และเป็นไปตามกลับการจัดการศึกษาปฐมวัย


จากนั้นอาจารย์ก็ได้สอนจาก Power Point เรื่อง ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ โดยมีหัวข้อดังนี้
- ความหมายทักษะการจำแนก
- ความหมายทักษะการวัด
-ความหมายทักษะการสื่อสาร
- ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
- ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
- ความหมายทักษะการคำนวน


สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

   ได้รับความรู้จากบทความเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้น สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนของเราเอง หรือการจัดการสอน การจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย

การประเมินผล ( Evaluation )

ตนเอง      :  แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีความตั้งใจในการเรียน มีการจดบันทึก
เพื่อน        :  แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม ตั้งใจเรียน  มีการจดบันทึกความรู้ ตั้งใจเพื่อนนำเสนอบทความ
อาจารย์    :   อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสมต่อสถานะการเป็นผู้สอน มีความพร้อมในการสอน มีการอธิบาย ยกตัวอย่างประกอบการสอน ใช้สื่อในการสอน ให้การเรียนนั้นเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น





The Secret of Light

ความลับของแสง

   โดยสรุปความรู้เป็น Mind Map ได้ดังนี้








วันอังคารที่ 16 กันยายน 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5


ความรู้ที่ได้รับ ( Knowledge )

   สำหรับสัปดาห์นี้ก็เริ่มต้นด้วยการเปิดเพลงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้ฟัง แล้วช่วยกันคิดวิเคราะห์เนื้อหาแล้วความรู้ที่ได้จากการฟังเพลงนี้ จากนั้นก็ให้แต่ละบอกชื่อเพลงของเด็กปฐมวัยคลละ 1 เพลง ห้ามซ้ำกัน เพื่อเป็นการทดสอบความภูมิความรู้เดิม ว่าจะมีมากน้อยเพียงใด หรือจะจำกันได้หรือไม่ จากนั้นก็จะเป็นการนำเสนอบทความวิทยาศาสตร์ โดยสรุปบทความที่ไได้ฟังจากเพื่อนที่นำเสนอ ได้ดังนี้

ผู้นำเสนอ คนที่ 1 นางสาววีนัส  ยอดแก้ว  ( Wenat Yotkaew )

เรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่ ?
ผู้เขียน อาจารย์ชุติมา เตมียสถิตย์
   หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปแบบของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วยทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอน เพียงแต่ครูควรตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้เด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็ก และครูควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรให้ตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ

ผู้นำเสนอ คนที่ 2 นางสาวเจนจิรา  บุตรช่วง ( Janjira Butchuang )

เรื่อง สอนลูกเรื่องพืช
ผู้เขียน อาจารย์นิติธร ปิลวาสน์
   การสอนให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับพืชชนิดต่างๆนั้น พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในหารส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมง่ายๆให้เด็กได้เรียนรู้จากกิจกรรมประจำวัน เช่น
1.การให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการประกอบอาหารประเภทผัก
2.การหัดให้เด็กเพาะปลูกพืชง่ายๆที่บ้าน หรืออาจจะปลูปผักสวนครัว
3.ให้เด็กไปช่วยเลือกซื้อพันธ์พืช ไม้ดอกไม้ประดับ จากแหล่งจำหน่ายพันธ์ไม้
4.พ่อแม่ควรพาลูกไปเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวที่มีพันธ์พืชหรือต้นไม้ เช่น สวนดอกไม้ น้ำตก

   หลังจากที่เพื่อนได้นำเสนอบทความเสร็จแล้ว ก็จะเป็นการทำกิจกรรม โดยที่อาจารย์ได้แจกกระดาษ ไม้เสียบลูกชิ้น เทปกาว สี 

ขั้นตอนการทำ 
   ให้กระดาษ A4 มา 1 แผ่น พับเป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน แล้วตัดแบ่งกับ จะเป็นกระดาษ 4 เหลี่ยมเล็กๆ พอดี จากนั้นก็พับครึ้งก็จะมีสองด้าน ด้านแรกวาดรูปจานลงไป ด้านที่สองวาดรูปผลไม้ลงไป จากนั้นติดไม้เสียบลูกชิ้นไว้ตรงกลางกระดาษแล้วติดเทปการให้หนาแน่นเรียบร้อย แล้วเราก็จะมาทดลองกัน คือ ให้หมุนไม้นั้นเร็วๆไปมา ผลที่ได้ คือ เราจะมองเห็นเหมือนว่าผลไม้ที่เราวาดนั้นอยู่ในจาน






สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

   ได้รับความรู้จากบทความเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้น รู้เกี่ยวกับความสำคัณของวิชาวิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย และรู้ว่าจะกิจกรรมอย่างไรให้เด็กปฐมวัยได้ใกล้ชิดวิทยาศาสตร์มากขึ้นโดยที่ไม่ยากเกินไปสำหรับเด็ก

การประเมินผล ( Evaluation )

ตนเอง      :  แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีความตั้งใจในการเรียน มีการจดบันทึก
เพื่อน        :  แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม ตั้งใจเรียน  มีการจดบันทึกความรู้ ตั้งใจเพื่อนนำเสนอบทความ
อาจารย์    :   อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสมต่อสถานะการเป็นผู้สอน มีความพร้อมในการสอน มีการอธิบายและเสริมความรู้ให้เข้าใจง่ายมากขึ้น









วันอังคารที่ 9 กันยายน 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4

ความรู้ที่ได้รับ ( Knowledge )

   สำหรับการเรียนในสัปดาห์นี้ก็ได้เรียนเกี่ยวกับเรื่อง รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย โดยสรุปความรู้เป็น Mind Map ได้ดังนี้







สิ่งที่นำไปพัฒนา ( Applications )

   นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการจัดดารเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัยไได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ให้กิจกรรมที่จะจัดนั้นสอดคล้องกับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ของเด็ก อย่างครบถ้วน

การประเมินผล ( Evaluation )

ตนเอง      :  แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีความตั้งใจในการเรียน
เพื่อน        :  แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม ตั้งใจเรียน  มีการจดบันทึกความรู้
อาจารย์    :   อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสมต่อสถานะการเป็นผู้สอน มีเทคนิกการสอนที่หลากหลาย สอนแบบมีคำถามเพื่อให้นักศึกษาได้ความรู้จากการตอบคำถาม





วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ

      ทักษะการสังเกตเป็นหนึ่งในทักษะขั้นพื้นฐานและจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์  
การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ เพื่อต้องการรู้รายละเอียดของสิ่งนั้นๆ ที่จะนำมาซึ่งการเรียนรู้ที่มากขึ้นและเด็กจะเก็บเป็นข้อมูลหรือประสบการณ์ต่อไป จึงพูดได้อีกอย่างว่าสำหรับสำหรับเด็กๆแล้วการสังเกตจะเกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้านั่นเอง และจากประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กพัฒนาขึ้น การสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่มีคุณค่าในที่สุด


ส่งเสริมทักษะการสังเกตผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า

ฝึกสังเกตด้วย ตา   
   ในการสังเกตโดยใช้ “ตา” นั้น  คุณพ่อคุณแม่ควรแนะให้ลูกรู้จักสังเกตลักษณะของสิ่งต่างๆ สังเกตความเหมือน ความต่าง รู้จักจำแนก และจัดประเภท จะช่วยให้เด็กมี นิสัยในการมองสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างละเอียดรอบคอบ โดยเริ่มจากการชี้ให้เด็กดูสิ่งที่เขาเห็นอยู่ทุกวัน เช่น ต้นไม้บริเวณบ้าน  ลองเก็บใบไม้ต่าง ๆ ที่หล่นอยู่บนพื้นมาให้ลูกดู ให้เขาสังเกตสีของใบไม้ต่าง ๆ  ที่มีทั้งสีเขียว  สีเหลือง สีแดง สีน้ำตาล ฯลฯ  รวมทั้งมีรูปร่างลักษณะที่ทั้งคล้ายกันและต่าง กัน 

ฝึกสังเกตด้วย หู  
   เด็กเล็กๆ ที่มีความสามารถในการจำแนกเสียงต่างๆที่ได้ยินนั้น จะมีพื้นฐานที่ดีในการเรียนรู้ภาษาทั้งยังช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งที่อยู่รอบตัวเขาด้วย เราอาจใช้วิธีอัดเสียงที่เด็กคุ้นหู เช่น เสียงสัตว์ต่าง ๆ เสียงนก เสียงแมลง จิ้งหรีด ฯลฯ แล้วเปิดให้เด็กทายว่าเป็นเสียงอะไร ให้เด็กหัดสังเกตความแตกต่างของเสียงเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเชื่อมโยงไปสู่การสอนเขาเกี่ยวกับลักษณะของแหล่งเสียงต่างๆนั้นได้ 

 ฝึกสังเกตด้วย จมูก  
   การใช้จมูกดมกลิ่นเพื่อฝึกการสังเกตนั้น ควรให้ลูกได้ดมสิ่งที่มีกลิ่นเหมือนและต่างกัน เพื่อให้เขารู้จักจำแนกได้ละเอียดขึ้น การฝึกลูกในขั้นแรก คือปิดตาลูกแล้วให้ดมกลิ่นสิ่งต่างๆ แล้วบอกว่าเป็นกลิ่นอะไร กลิ่นที่นำมาให้ลูกดมควรเป็นสิ่งที่เขาคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน เช่น แป้ง สบู่ ผลไม้ ส้ม ดอกไม้  หัวหอม ฯลฯ  หลังจากที่ลูกสามารถจำแนกกลิ่นต่าง ๆ ได้แล้ว ควรให้ดมกลิ่นสิ่งที่มีกลิ่นคล้ายกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง 

 ฝึกสังเกตด้วย ลิ้น  
    การใช้ลิ้นชิมรสอาหารต่าง ๆ เป็นกิจกรรมที่เด็กสนุกสนานเพราะสอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กที่ชอบชิม แทะสิ่งต่างๆอยู่แล้ว การให้เด็กได้ชิมรสต่างๆนี้ก็เพื่อให้รู้จักความแตกต่างของรสชาติ และรู้จักลักษณะของสิ่งที่นำมาใช้เป็นอาหารดียิ่งขึ้น ในการจัดกิจกรรมนั้นคุณพ่อคุณแม่นำอาหารชิ้นเล็กๆหลาๆอย่างใส่ถาดให้ลูกปิดตาแล้วพ่อแม่ใส่ปากให้ชิมและตอบว่ากำลังชิมอะไร รสเป็นอย่างไร เช่น น้ำตาล-หวาน  เกลือ-เค็ม  วุ้น-หวาน   มะนาว-เปรี้ยว  มะระ-ขม เป็นต้น  หลังจากนั้นให้เปรียบเทียบอาหารที่มีรสคล้ายกันว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร 

 ฝึกสังเกตด้วย ผิวหนัง   
   การเรียนรู้ด้วยการใช้มือสัมผัส แตะ หรือเอาสิ่งของต่างๆมาสัมผัสผิวหนัง ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัตถุต่างๆและเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่อาจนำวัตถุต่างๆใส่ถุงให้ลูกปิดตาจับของในถุงนั้น แล้วให้บอกว่าสิ่งที่จับมีลักษณะอย่างไร เช่น นุ่ม แข็ง หยาบ เรียบ ขรุขระ เย็น อุ่น บาง หนา ฯลฯ โดยสิ่งของที่นำมาใส่ในถุงควรมีพื้นผิวแตกต่างกัน เช่น ผ้าเนื้อต่างๆ กระดาษหยาบ ฟองน้ำ ไม้ขนนก เหรียญ ฯลฯ 

   การได้ฝึกสังเกตด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้านี้ จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดเป็นข้อมูลขึ้นในสมองของลูก เพื่อการเรียกมาใช้ในวันหนึ่งข้างหน้านั่นเอง